อ่านรายละเอียด | ไฟล์ Presentation

 

การมอบนโยบายของอธิบดีกรมปศุสัตว์ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการกรมปศุสัตว์
ระหว่างวันที่ 18 – 20 มกราคม พ.ศ.2555
ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพฯ
-----------------------------------
“ ก้าวต่อไปของการพัฒนาศักยภาพการปศุสัตว์”


        นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้มอบนโยบายในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการกรมปศุสัตว์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การพัฒนาศักยภาพการปศุสัตว์ ต้องให้ทันต่อเหตุการณ์ เพิ่มโอกาสต่อผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อเป็นองค์กรนำการปศุสัตว์ไทยสู่ตลาดโลก จะต้องปฏิบัติให้ได้ และผลักดันก้าวล้ำหน้ากว่าองค์กรอื่น

นโยบายการทำงาน 3 ความสุข

- เกษตรกรมีความสุข
- บุคลากรของกรมปศุสัตว์มีความสุข
- สังคม ประเทศชาติ มีความสงบสุข มีความรักความสามัคคี

แผนงาน/งบประมาณปี 2555

    กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณ รวม 4,752.98 ล้านบาท มี 4 ผลผลิต และ 1 โครงการ ได้แก่
   1 ผลผลิตพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ งบประมาณ 1,209.88 ล้านบาท
   2 ผลผลิตพัฒนาสุขภาพสัตว์ งบประมาณ 2,499.26 ล้านบาท
   3 ผลผลิตสินค้าเกษตรมีคุณภาพฯ งบประมาณ 701.67 ล้านบาท
   4 ผลผลิตเกษตรกรได้รับการส่งเสริมฯ งบประมาณ 286.91 ล้านบาท
   1 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมอาชีพชายแดนใต้ งบประมาณ 55.24 ล้านบาท
ทั้งนี้รวมถึงงบบุคลากรที่รวมอยู่ด้วย 58.4% ซึ่งงบประมาณแต่ละผลผลิตมีงบประมาณร้อยละ 54 คงเหลือ
งบประมาณที่จะใช้ ร้อยละ 45.2 ในปี 2554 งบฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1 (48 ล้านบาท)

อัตรากำลังของกรมปศุสัตว์ ในปี 2555
       กรมปศุสัตว์มีบุคลากร 11,455 คน ในการขับเคลื่อนภารกิจของกรมฯ โดยในขณะที่บุคลากรของ

กรมปศุสัตว์มีไม่เพียงพอต่อการพัฒนาปศุสัตว์ จะต้องทำให้บุคลากรของกรมฯ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น ดังนั้นจะต้อง
มีการพัฒนาให้บุคลากรเป็นคนดี คนเก่ง และทำงานอย่างมีความสุข

นโยบายด้านสุขภาพสัตว์

หน่วยควบคุมโรค
       ให้ความสำคัญของการปราบโรค AI / ND / FMD / Bru. / T.B. / PRRS / อหิวาต์สุกร /EIA
โดยให้ สคบ.ไปทำจัดแผนกำจัดโรคให้ชัดเจนตามกรอบที่ OIE กำหนด และให้หมดไปจากประเทศไทย ส่วนโรคที่
จะต้องควบคุมและแพร่ระบาดให้น้อยที่สุด คือ โรค Duck Plaque อหิวาต์เป็ด-ไก่ เฮโมรายิกเซพติซีเมีย แบลคเลค และโรคที่ต้องไม่ให้เกิดในประเทศไทย (Exotic Disease) เช่น BSE นิปาห์ รินเดอร์เปสต์ PPR
     ได้มอบหมายให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดที่มีอำเภอไม่ถึง 10 อำเภอ ให้ตั้งหน่วยเฉพาะกิจ 1 หน่วย
และให้มีหน่วยงานเฉพาะกิจ 2 หน่วย ถ้ามีอำเภอมากกว่า 10 อำเภอขึ้นไป ซึ่งแต่ละหน่วยมีอัตรากำลังอย่างน้อย
10คน ซึ่งมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างตลอดเวลา ให้ปศุสัตว์เขตออกคำสั่งประจำเขตหนึ่งหน่วย มี 10 คน ใช้บุคลากรภายในเขตเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเฉพาะกิจ พร้อมส่งสำเนาคำสั่งให้ สคบ.
      โดย อปส.ได้สั่งการให้ สคบ.เป็นเจ้าภาพในการจัดทำแผนปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจร่วมกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เขต / สพส . / สพท. หรือหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมทุกด้านให้หน่วย
เฉพาะกิจ พร้อมปฏิบัติเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้น

ด่านกักกันสัตว์
       ในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมา ด่านกักกันสัตว์ต่าง ๆ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับกรมปศุสัตว์ ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัญหาสัตว์เลี้ยง พร้อมทั้งผลักดันให้ด่านกักกันสัตว์เข้มงวดมากขึ้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดเข้าประเทศตามชายแดนและระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ทั้งนำเข้าและส่งออกให้ได้มาตรฐานรับรองการเข้าสู่สากลของประเทศอาเซียน

ปศุสัตว์ตำบล
       เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องโอนให้ท้องถิ่น จะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นเห็นถึงประโยชน์ที่คุ้มค่าของการมีปศุสัตว์ตำบล และดำเนินการจ้างหรือกำหนดอัตราของท้องถิ่นเอง ปศุสัตว์ตำบลทำทุกงานของกรมฯ ที่ลงถึงท้องถิ่น ทุกกอง/สำนักต้องมีส่วนในการสนับสนุนงบประมาณ และติดตามงาน

การทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ NID
          เป็นนโยบายที่สำคัญในการแสดงหลักฐานของสัตว์ที่มีประวัติที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับ
ระบบความปลอดภัยในสินค้าปศุสัตว์ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและตางประเทศ โดยการเลิกใช้
ระบบเบอร์หูของธนาคารโค-กระบือ เพื่อยกระดับการค้าระหว่างประเทศให้ดีขึ้นและตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ อปส.ได้มอบหมายให้ สทป. และ กบส. ไปร่วมหารือกันเพื่อจัดทำแผนความเป็นไปได้เกี่ยวกับ NiD

ปรับระบบการเลี้ยง
         สคบ. และสพท. ผลักดันการปรับปรุงการเลี้ยงเพื่อควบคุมโรคระบาดให้ได้อย่างน้อยไก่พื้นเมืองให้
มีเล้านอน ป้องกันลมฝนหนาว จับไก่ฉีดวัคซีน เป็ดไล่ทุ่ง ควบคุมจำกัดพื้นที่การเลี้ยง ช่วยเหลือส่งเสริมการเลี้ยง
ในโรงเรือน สุกรรายย่อย

วัคซีน
         ทำอย่างไรจึงจะแก้วัตถุประสงค์ระเบียบเงินทุนให้จำหน่ายต่างประเทศได้

LAB
        ให้ สสช. ทำมาตรฐาน Lab ให้ครอบคลุมเป็นเครือข่าย ระเบียบการเก็บเงินค่าเก็บตัวอย่าง ให้เดินหน้า รวมทั้งเร่งรัดระเบียบเก็บเงินในการตรวจตัวอย่างให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทำ Model รถตู้ให้บริการหน่วย
ปศุสัตว์เคลื่อนที่ เป็นแม่แบบให้จังหวัดต่าง ๆ เพื่อจังหวัดจะได้ของบจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซื้อรถเพื่อทำคลินิก
เคลื่อนที่ และให้ สสช. เป็นพี่เลี้ยง Lab เบื้องต้นประจำจังหวัด

นโยบายด้านการผลิตสัตว์
        จะต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญจะต้องแทนกรมฯ ว่า งานวิจัยจะตอบปัญหาเกษตรกร งานวิจัยอะไรที่จะต้องพัฒนาในระดับสูง
        กองบำรุงพันธุ์สัตว์ให้สร้างฟาร์มเครือข่ายเพื่อผลิตสัตว์ทดแทน สร้างการมีส่วนร่วมให้เกษตรกรใน
การผลิตสัตว์พันธุ์ดีให้เพียงพอ ศึกษาการเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอสำหรับการผลิต
สัตว์จำหน่าย
       กองอาหารสัตว์จัดตั้งคลังเสบียงสัตว์สำรองประจำตำบล การผลิตหญ้าแห้งส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ การเร่งรัดขยายพันธุ์หญ้าพันธุ์ดี (พันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1) โครงการศึกษาพัฒนาอาหารสัตว์ในพระราชดำริ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเน้นเรื่องอาหารสัตว์ โดยให้ผู้บริหารใส่ใจในเรื่องด้านอาหารสัตว์ และขยายผลให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารขึ้น
       สทป. การถ่ายโอนงานผสมเทียมให้สหกรณ์โคนมที่มีศักยภาพ ขยายศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ให้
เอกชนเป็น center ในอินโดจีน โครงการเร่งรัดการผลิตโคเนื้อคุณภาพ 50,000 ตัว (Flagship Project) ให้ สทป.
เร่งรัดดำเนินการ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ จะทำการติดตาม

นโยบายด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
โรงฆ่าสัตว์
       เร่งรัดโรงฆ่าสัตว์ที่ยื่นขอรับใบอนุญาตฯ (ฆจส.1) ให้ได้ใบอนุญาตตั้งโรงฆ่าสัตว์ฯ (ฆจส.2)

มาตรฐานฟาร์ม
       เป็น Pre-harvest ให้ สคบ. , สพส., กผง. หารือเรื่องนี้ให้ได้ว่า จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคสินค้า
ปศุสัตว์มีความตื่นตัวและเข้าใจด้านมาตรฐานสินน้าปศุสัตว์

เขียงสะอาด สารเร่งเนื้อแดง และสารตกค้าง
       ให้เดินหน้าทำต่อไป

นโยบายด้านส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์
      โดยการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรายย่อย โดยการผลักดันให้พัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง สามารถให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ พัฒนาระบบการผลิต และการตลาด การฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการธนาคารโค-กระบือ สำหรับโครงการธนาคารโค-กระบือทำกลุ่มให้เข้มแข็ง และมีกี่กลุ่ม รวมทั้งถ่ายโอนให้ดูแลเอง

การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

ก่อนเกิดภัย
        เตรียมความพร้อม (วิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดภัยในพื้นที่ จัดเตรียมสถานที่อพยพสัตว์ระดับ
หมู่บ้าน/ตำบล แหล่งเสบียงสัตว์ จัดหาแหล่งน้ำ/การขนส่งน้ำ) ซักซ้อมแผน แจ้งเตือนภัย และให้ข้อมูลที่สำคัญแก่
เกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุ
ขณะเกิดภัย
       (กปศ.เป็นหน่วยงานเดียวใน กษ. ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือสัตว์ในขณะเกิดภัย) ดูแลสุขภาพสัตว์ อพยพ
สัตว์ ป้องกันควบคุมโรคระบาดสัตว์ สนับสนุนเสบียงสัตว์ ของบภัยพิบัติจากผู้ว่าทักที หากงบผู้ว่าไม่เพียงพอให้เสนอเรื่องถึงกรมฯ เพื่อขอใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกษ. (50 ล้านบาท) การประเมินผลกระทบ ต้องกำหนดคำจำกัดความของ “ สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ “ ให้ชัดเจนเพื่อประเมินค่าชดเชยให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
หลังเกิดภัย
        การฟื้นฟูด้านสุขภาพสัตว์ การฟื้นฟูด้านอาหารสัตว์ การฟื้นฟูอาชีพ

ยุทธศาสตร์รายสินค้าปศุสัตว์
        ปัจจุบันกรมฯ ได้แบ่งตามโครงสร้างลักษณะงาน แต่การรวมทุกลักษณะงานให้ครบในแต่ละชนิดสัตว์
(Commodity) ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้การพัฒนาครบวงจรในรายชนิดสัตว์ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ กรมปศุสัตว์ได้มี
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์รายสินค้าปศุสัตว์ขึ้น โดยให้รองอธิบดีแต่ละท่านทำหน้าที่ดูแลสินค้ายุทธศาสตร์
รายสินค้าแต่ละชนิด ดังนี้
        รอธ.ธนิตย์ อเนกวิทย์ ดูแลยุทธศาสตร์โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ
        รอธ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ ดูแลยุทธศาสตร์โคนม
        รอธ.นิรันดร เอื้องตระกูลสุข ดูแลยุทธศาสตร์สุกร
        รอธ.วิมลพร ธิติศักดิ์ ดูแลยุทธศาสตร์ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และไกพื้นเมือง เป็ดไล่ทุ่ง
       ซึ่งมีปศุสัตว์เขตเป็นเลขาในแต่ละยุทธศาสตร์ ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ การศึกษาวิจัย บริการ พัฒนา กฎหมาย และอื่น ๆ (ภายในและนอกประเทศ)

 

 

ข้อมูล : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ