กรมปศุสัตว์พร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง เตรียมมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยจัดทำแผนรับมือและให้การช่วยเหลืออย่างรอบด้านเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง สำรองเสบียงสัตว์ในกรณีฉุกเฉินกว่า 200,000 กิโลกรัมกระจายใน 3 ภูมิภาค จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่พร้อมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขภัยแล้งอย่างทันที แจ้งให้ทุกหน่วยทั่วประเทศให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้สถานการณ์ภัยแล้งด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร

นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า จากปัญหาสภาพอากาศที่ร้อนจัดและคาดว่าในบางพื้นที่อาจจะประสบภาวะร้อนแล้งมากในปี 2560 นี้ กรมปศุสัตว์ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น โดยจากการศึกษาและประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านปศุสัตว์ พบว่า มีพื้นที่เสี่ยง ซึ่งจัดเป็นพื้นที่แล้งซ้ำซากใน 17 จังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดแพร่ จังหวัดตาก จังหวัดน่าน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด) 60 อำเภอ 318 อำเภอ มีจำนวนสัตว์ที่อาจได้รับผลกระทบ 280,000 ตัว และในพื้นที่เฝ้าระวัง ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำใน 34 จังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุพรรณบุรี   จังหวัดพัทลุง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส) 105 อำเภอ จำนวนสัตว์ที่อาจได้รับผลกระทบ 730,000 ตัว

กรมปศุสัตว์ได้จัดทำมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการป้องกันและลดผลกระทบ ด้านการเตรียมความพร้อม ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉินขณะเกิดภัย และ ด้านการฟื้นฟู เพื่อเร่งสำรวจ ประเมินความเสียหายและพร้อมให้ความช่วยเหลือ (เป็นเงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ) อย่างเร่งด่วนภายใน 60 วัน รายละเอียด ดังนี้

ด้านการป้องกันและลดผลกระทบ มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการภัยแล้งด้านปศุสัตว์ และ จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะในพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยแล้งซ้ำซาก

ด้านการเตรียมความพร้อม มีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านปศุสัตว์ ปี 2560 การสำรองเสบียงสัตว์และเวชภัณฑ์ สำหรับเตรียมให้การช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อเกิดภัย โดยจัดตั้งคลังเสบียงสัตว์ ประจำกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์นำร่องในพื้นที่เสี่ยงแล้งซ้ำซาก ใน 3 ภูมิภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดตาก จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิษณุโลก รวม 8 จังหวัด จำนวน 40 แห่ง แห่งละ 5,000 กิโลกรัม รวมจำนวนเสบียงพืชอาหารสัตว์ทั้งหมด 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่ เตรียมความพร้อมบุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ มีการซักซ้อมแผนปฏิบัติการภัยแล้ง สร้างการรับรู้ เฝ้าระวังและประชาสัมพันธ์ การเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งด้านปศุสัตว์ จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน

ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉินขณะเกิดภัย จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ประสานการปฏิบัติงาน ประเมินความต้องการและความเสียหาย ที่สำคัญคือ หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัย และประเมินผลกระทบเบื้องต้น

ด้านการฟื้นฟู เร่งสำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือ (เป็นเงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ) อย่างเร่งด่วนภายใน 60 วัน พร้อมฟื้นฟูแปลงพืชอาหารสัตว์และส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์

ดังนั้น หากเกษตรกรรายใดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และต้องการขอรับการสนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จากกรมปศุสัตว์ สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ใกล้บ้านท่าน ในวันและเวลาราชการ ด้วยความปรารถนาดีจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-----------------------------

ที่มาของข้อมูล

ข้อมูล :  กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ / สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์                                   

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ กรมปศุสัตว์

http://secretary.dld.go.th/index.php/informationdld/newsdld/2551-84-2560


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ