pic01
วันที่ 11 มิถุนายน 2561 เวลา 15.00น. นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จังหวัดนครสวรรค์ และพิจิตร พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์ , นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต6 ,นายอวยชัย ชัยยุทโท ผู้อำนวยการกองแผนงาน,นายวิวัฒน์ ชัยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้

โดยตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านห้วยร่วม ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ พบปะเกษตรกรเยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มและเครือข่าย ได้แก่ โรงสีข้าว การแปรรูปข้าว การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และผลิตภัณฑ์ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง 

 นอกจากนี้เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถ “โครงการคลังชุมชน” ภายใต้แผนปฏิบัติการป้องกันภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ 2561 จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย    ชี้ชัดว่าประเทศไทยมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยแบบซ้ำซาก รวม 60 จังหวัด  ซึ่งในพื้นที่เหล่านี้จะมีสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรเป็นจำนวนมากที่จำเป็นต้องให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยในปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้มีการสำรองเสบียงสัตว์ไว้คอยให้ความช่วยเหลือเกษตรกร รวม 4,303,100 กิโลกรัม  สามารถใช้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ประสบภัย ได้จำนวน 172,124 ตัว  ในระยะเวลา 5 วันสำหรับการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุทกภัย เกษตรกรจะต้องเดินทางมารับเสบียงสัตว์ด้วยตนเอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ในแต่ละพื้นที่ แต่เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและเป็นต้นแบบในการสำรองเสบียงสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการคลังเสบียงสัตว์ประจำตำบลขึ้นทั่วประเทศ เมื่อปี 2555 เป็นต้นมา จำนวน 58 แห่ง/ปี โดยพื้นที่เป้าหมายหลัก เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. สนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ให้เกษตรกรปลูกสร้างแปลงหญ้าของตนเอง
2. สนับสนุน แนะนำให้เกษตรกรมีการผลิตเสบียงสัตว์สำรอง
3. จัดตั้งคลังเสบียงสัตว์ประจำตำบล โดยการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่าง กรมปศุสัตว์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ซึ่งมีการปล่อยขบวนเสบียงสัตว์เพื่อสำรองในคลังเสบียงสัตว์ประจำตำบล ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 6 แห่ง และหลังจากนี้กรมปศุสัตว์จะได้ดำเนินการส่งมอบเสบียงสัตว์ให้กับคลังเสบียงสัตว์ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉินเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือด้านเสบียงสัตว์ผ่านปศุสัตว์อำเภอและปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบได้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ใกล้บ้าน ทั้ง  32 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีการให้บริการในรูปของหญ้าสด หญ้าหมักและหญ้าแห้ง ณ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

ที่มาของข้อมูล : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ