S 1360473

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 9.30 น.      นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563 โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

วัตถุประสงค์ของการประชุม

เพื่อติดตามสถานการณ์ ผลการดำเนินงานและมาตรการในด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน 18 กุมภาพันธ์ 2563 สถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยันทั้งสิ้น 35 ราย มีอาการรุนแรง 2 ราย แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต เชื่อว่าเชื้อนี้อาจเกิดจากค้างคาวติดต่อมายังตัวนิ่มและตัวนิ่มติดมายังคน โดยพบว่าเชื้อไวรัสนี้มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่คล้ายคลึงกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่พบในค้างคาวมากถึงร้อยละ 96 อย่างไรก็ตาม มีรายงานของนักวิจัยจากประเทศจีนเพิ่มเติมว่าเชื้อนี้อาจติดไปยังตัวนิ่ม (Pangolin) ก่อนที่จะติดต่อมายังคน โดยพบว่ายีนของเชื้อที่พบในตัวนิ่มและในผู้ป่วยมีความเหมือนกันถึง 99% อย่างไรก็ตามรายงานนี้ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ

เป้าหมายการรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของประเทศไทย มี 3 ข้อ ดังนี้

  1. ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศไทย (มาตรการสำคัญ คือ เพิ่มสมรรถนะการคัดกรองและตรวจจับผู้ติดเชื้อ)
  2. ดูแลทุกคนในประเทศไทย และคนไทยในต่างประเทศให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (มาตรการสำคัญ คือ เพิ่มการเฝ้าระวังและลดการแพร่เชื้อในชุมชน และเพิ่มความพร้อมในการรักษาพยาบาล) และ
  3. ลดผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ (มาตรการสำคัญ คือ สร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและภาพลักษณ์ของประเทศ ส่งเสริมความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการลดผลกระทบ และเตรียมความพร้อมในทุกระดับ เพื่อรับมือกับภัยจากโรคระบาด)

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ดังนี้

  1. การเฝ้าระวังโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ ในสุกรในพื้นที่เสี่ยงสูง ตั้งแต่ ปี 2541 โดยเก็บตัวอย่างสุกรจำนวนประมาณ 3,600 ตัวอย่าง/ปี เพื่อตรวจระดับภูมิภูมิคุ้มกัน โดยวิธี Modified ELISA ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่พบหลักฐานการติดเชื้อในสุกร
  2. การเฝ้าระวังโรคที่เคยมีการรายงานพบในค้างคาว ได้แก่ เมอร์ ซาร์ และอื่นๆ ในสุกร สุนัข แมว และโค ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ผลการตรวจไม่พบเชื้อโรคที่มาจากค้างคาว (พบไวรัสชนิดเดิมที่อยู่ในสัตว์นั้นอยู่แล้ว)
  3. การศึกษาทางระบาดวิทยาโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะ เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค
  4. การพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนมือถือ “อีสมาร์ทพลัส” เพื่อประเมินความเสี่ยงฟาร์มต่อโรคที่สำคัญในปศุสัตว์ รวมถึงโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะ เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงฟาร์ม

สำหรับแผนการดำเนินงานเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะอื่นๆ

  1. เตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
  2. เฝ้าระวังโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะในปศุสัตว์ อย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  3. ให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะ และให้คำแนะนำแก่เกษตรกรให้มีการปรับปรุงฟาร์ม กรณีที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะ จากการสำรวจด้วยแอปพลิเคชันอีสมาร์ทพลัส
  4. จัดทำแผนการเตรียมความพร้อมรับมือการเกิดโรคในปศุสัตว์

ทั้งนี้ เพื่อร่วมมือกันในการดำเนินการเตรียมรับมือ และแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทุกด้าน ลดผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และความมั่นคงของประเทศต่อไป

ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ