pic01

นายสัตว์แพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งยกระดับการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส และเป็นธรรม ตนได้มีนโยบายในการดำเนินงานมุ่งพัฒนาใน 3 ด้านหลักมาโดยตลอด ได้แก่ ด้านบุคลากร พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ด้านงบประมาณ ให้ใช้ง่ายงบประมาณให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านการดำเนินงาน ให้โปร่งใส สุจริต และเป็นธรรม ตรวจสอบได้ มุ่งเน้นประโยชน์และคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ได้เข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (integrity and Transparency Assesment : ITA) โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ กรมปศุสัตว์ผ่านเกณฑ์การประเมินและจัดให้อยู่ในระดับ A ด้วยคะแนน 93.03 ติด TOP 5 ของหน่วยงานระดับกรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือว่าเป็นการได้รับคะแนนประเมินที่ดีขึ้น +1.22 คะแนน เมื่อเทียบกับผลการประเมิน ปี 2564 ได้คะแนน 91.81 ที่สำคัญปีนี้ ในรายตัวชี้วัดตัวชี้วัด การเปิดเผยข้อมูล และ การป้องกันการทุจริต ได้ 100% เต็ม ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ผู้ตรวจประเมินให้ความเห็น “กรมปศุสัตว์ มีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ หน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งสอดคล้องและเป็นไป ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทรศาสตร์ชาติในประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยมีคะแนนอยู่ที่ 93.03 คะแนน และกรมปศุสัตว์ ได้คะแนนผลการประเมินตามแบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assess ment: OIT) ที่ดีเยี่ยม ควรรักษามาตรฐานไว้และควรพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานอย่างต่อเนื่อง”

การประเมิน ITA หรือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐในด้านการบริหารจัดการ การให้บริการ และการดำเนินงานของหน่วยงานที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีคุณธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งตอบสนองต่อการให้บริการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกอย่างเป็นธรรม หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร โดยผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ สามารถอำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 มีหน่วยงานของรัฐเข้าร่วมประเมินจำนวน 8,303 หน่วยงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 5,855 หน่วยงาน (70.52%) ซึ่งการประเมินมี 3 รูปแบบ 10 ตัวชี้วัด ได้แก่ การประเมินของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการในหน่วยงาน) มี 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย การปฏิบัติหน้าที่ การใช้งบประมาณ การใช้อำนาจ การใช้ทรัพย์สินของราชการ และการแก้ไขปัญหาการทุจริต การประเมินของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (ประชาชน หรือผู้มาติดต่อขอรับบริการกับหน่วยงาน) มี 3 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการสื่อสาร และการปรับปรุงระบบการทำงาน และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ มี 2 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย การเปิดเผยข้อมูล และการป้องกันการทุจริต

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ต้องขอขอบคุณข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการในสังกัด ที่ช่วยกันทำให้กรมปศุสัตว์ได้การประเมิน ITA ในระดับคะแนนที่เพิ่มมากขึ้น โดยกรมปศุสัตว์จะมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับการดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสให้เป็นไปตามกรอบการประเมินที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และเพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนโยบายของกรมปศุสัตว์ด้านการต่อต้านการทุจริตและคอรัปชั่น และที่สำคัญได้กำหนดให้เป็นนโยบายที่ทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่ในการแจ้งหรือรายงานต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ทันที เมื่อพบเห็นพฤติกรรมหรือข้อมูลการกระทำที่เข้าข่ายทุจริตหรือประพฤติมิชอบในราชการ ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข่าวสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.dld.go.th หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ข้อมูล :  กลุ่มวินัย กองการเจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline