18 01 65 1
อธิบดีกรมปศุสัตว์ยกระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) เพื่อยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์ของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย พร้อมออกมาตรการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรค ASF
นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนทุกภาคด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปลอดภัยทางด้านอาหารของผู้บริโภคภายในประเทศ รวมถึงความมั่นคงทางด้านอาชีพของเกษตรกรด้านปศุสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย ยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาโรคระบาด ทำให้เพิ่มต้นทุนของฟาร์ม เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์ป่วย และทำให้เกิดความสูญเสีย
ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผลผลิตลดลง กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบายให้มีการขับเคลื่อนฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในสุกร (GFM) เพื่อยกระดับการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย ให้มีการจัดการที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ซึ่งเป็นการลดปัญหาจากโรคระบาด และส่งเสริมให้สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัย โดยระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ประกอบด้วยการจัดการ 8 หัวข้อ คือ การจัดพื้นที่เลี้ยงและโครงสร้างการจัดการโรงเรือนหรือเล้าและอุปกรณ์ การจัดการยานพาหนะ การจัดการบุคคล การจัดการด้านสุขภาพ การจัดการอาหาร น้ำ และยาสัตว์ การจัดการข้อมูล และการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้ต้นทุนต่ำ สามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดโรคระบาดได้
          นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้วางมาตรการการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โดยในเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในเกษตรกรรายเล็กและรายย่อยนั้น ในระยะแรก กรมปศุสัตว์สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศให้คำแนะนำ และสำรวจความต้องการการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรภายใต้ตามมาตรการประเมินความเสี่ยง และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ดี ที่ถูกต้อง และความพร้อมในการเลี้ยงสุกรใหม่ภายใต้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์มีมาตรการส่งเสริม สนับสนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร เช่น พันธุ์สัตว์ราคาถูก (ลูกสุกรขุน สุกรแม่พันธุ์) โดยกรมปศุสัตว์และเครือข่ายผู้เลี้ยงสุกร การให้คำแนะนำด้านพืชอาหารสัตว์ต่างๆ รวมทั้งการประสานหาแหล่งทุนสนับสนุนการเลี้ยงสุกร โดย ธ.ก.ส. (โครงการสานฝันสร้างอาชีพฯ รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี) กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (กลุ่มวิสาหกิจ/กลุ่มจดทะเบียน/สหกรณ์) เป็นต้น
          กรมปศุสัตว์จึงเร่งผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์และ
การจัดการที่ถูกต้อง ปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีการรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมในปศุสัตว์ 10 ชนิด ได้แก่ สัตว์ปีกพื้นเมือง ไก่ไข่ เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และสุกร เกษตรกรที่มีความสนใจ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ณ ท้องที่ที่สถานที่เลี้ยงสัตว์ตั้งอยู่
ข้อมูล กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
ข่าว : น้องนุช สาสะกุล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ

บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ