S 2686994

หลักเศรษฐกิจ BCG Model เป็นนโยบายที่ภาครัฐผลักดันการพัฒนาประเทศโดยถือเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน ดังนั้นทางกรมปศุสัตว์ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของโมเดลดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการประกวดฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG MODELประจำปี พ.ศ. 2565 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเชิดชูและสร้างต้นแบบฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์ที่สามารถประยุกต์หลัก BCG model มาใช้จริงให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลโครงการประกวดฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG MODEL ประจำปี พ.ศ. 2565 ในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ครบรอย 80 ปี วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ณ กรมปศุสัตว์ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ได้เปิดเผยว่า “โครงการประกวดฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG MODEL ประจำปี พ.ศ. 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG MODEL ซึ่งเป็นฟาร์มอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์จากกรมปศุสัตว์ และเป็นการเชิดชูฟาร์มที่ได้นำหลักการ BCG model มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ กล่าวคือ

  1. หลักเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-Economy:B) ฟาร์มมีการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มายกระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐานสอดคล้องตามหลักการปศุสัตว์อินทรีย์ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร
  2. หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular-Economy;C) มีการนำทรัพยากรและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืน พึ่งตนเองได้มาก หมุนเวียนปัจจัยการผลิตได้ดี และใช้หลัก zero-waste ในฟาร์ม
  3. หลักเศรษฐกิจสีเขียว (Green-Economy;G) เน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียว การประหยัดพลังงาน ลดการปลดปล่อยของเสียจากฟาร์ม รวมทั้งเป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2565 มีฟาร์มปศุสัตว์แอินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นฟาร์มต้นแบบจากกรมปศุสัตว์จำนวน 13 ฟาร์ม โดยในจำนวนนี้ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นระดับยอดเยี่ยม 3 ฟาร์ม ได้แก่

  1. ไร่ผึ้งฝนฟาร์ม ระดับยอดเยี่ยม ประเภทฟาร์มโคนมอินทรีย์
  2. บริษัท ฮิลไทรบ์ ออร์แกนนิคส์ จำกัด ระดับยอดเยี่ยม ประเภทฟาร์มไก่ไข่อินทรีย์
  3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์มหาสารคาม ระดับยอดเยี่ยม ประเภทแปลงพืชอาหารสัตว์อินทรีย์

นอกจากนี้ ยังมีฟาร์มต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกอีก 10 ราย ได้แก่

  • ฟาร์มโคนมอินทรีย์ต้นแบบ 1) โคบาลฟาร์ม 2) ฟาร์มสาธิตแดรี่โฮม 3) อรพรรณฟาร์ม
  • ฟาร์มไก่ไข่อินทรีย์ต้นแบบ 1) สถานีเกษตรหลวงปางดะ 2) ฟาร์มวังไทร 3) ภูเชียงทา ออร์แกนิค ฟาร์ม
  • แปลงพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ต้นแบบ 1) ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สกลนคร 2) ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว 3) ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ 4) ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์กาญจนบุรี

ฟาร์มเหล่านี้เป็นต้นแบบที่เด่นชัดในการนำหลัก BCG model มาใช้ปฏิบัติจริงในฟาร์มให้เกิดเป็นรูปธรรมจนเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยการทำปศุสัตว์อินทรีย์นั้น มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้สารจากธรรมชาติ เช่น สมุนไพรไทย เพื่อลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมีและยาสัตว์ เลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ผู้บริโภคยังได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารพิษตกค้าง อีกทั้งยังสอดรับตาม BCG model ได้อย่างลงตัว ทั้งนี้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจศึกษางานในฟาร์มต้นแบบที่ได้รับรางวัลหรือต้องการรับทราบข้อมูลการรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดท้องที่ ได้ทุกแห่ง”

638274.jpg 638275.jpg 638278.jpg

S__2686991.jpg S__2686994.jpg

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์

รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง : กรมปศุสัตว์จัดงานวันสถาปนากรมฯครบรอบ 80 ปี 5 พฤษภาคม 2565