S 2630023

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ทำให้สัตว์สุขภาพอ่อนแอและป่วยง่าย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก บางพื้นที่น้ำท่วมขังและเปียกชื้นโดยพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง ทำให้สัตว์อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอบวม นอกจากนี้สัตว์ยังมีโอกาสติดเชื้อโรคอื่นๆ ที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนได้ เช่น โรคไข้สามวัน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคไข้สามวัน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ โดยสัตว์จะติดเชื้อไวรัสผ่านแมลงดูดเลือด เช่น ยุง แมลงวัน เห็บ สัตว์ป่วยจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-4 วัน อาการของโรคจะพบได้แตกต่างกันไปในแต่ละตัว โดยอาการแรกที่พบสัตว์จะมีไข้สูง ขึ้นๆลงๆ ซึม ไม่อยากเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามอาการของสัตว์จะเริ่มชัดเจนขึ้นโดยจะพบเห็นว่าสัตว์เบื่ออาหาร กล้ามเนื้อสั่น ขาแข็ง ขาเจ็บ เดินลำบาก มีน้ำมูก น้ำลายไหล สัตว์บางรายอาจะพบการบวมน้ำบริเวณคอหรือไหล่ หายใจลำบาก ปอดบวม ลุกลำบาก หรือนอนไม่ยอมลุก พบอาการท้องอืดได้กรณีที่สัตว์นอนนานๆ อย่างไรก็ตามสัตว์ส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้น 1-2 วันหลังเริ่มแสดงอาการ และจะฟื้นตัวสมบูรณ์อีกประมาณ 1-2 วัน ซึ่งโคนมอาจใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์กว่าจะกลับมาให้น้ำนมปกติ โรคนี้มักพบอาการแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น เส้นประสาทขาหลัง เป็นอัมพาต เต้านมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสนี้ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ตาย แต่สาเหตุการตาย เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคปอด ซึ่งวิธีการรักษาเป็นแบบรักษาตามอาการ ไม่มียารักษาโดยตรง ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนร่วมกับยาบำรุง สัตว์ที่ขาเจ็บและลุกไม่ขึ้น จะต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม โดยควรนอนในที่ที่มีสิ่งปูรองที่นุ่มและมีการช่วยพลิกตัวหรือพยุงตัวสัตว์ในแต่ละวัน ทั้งนี้การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือ ให้ความสำคัญกับการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องการจัดการโรงเรือน หรือคอกสัตว์ มีหลังคาป้องกันฝน ลม ได้เป็นอย่างดี ติดมุ้ง หรือหลอดไฟเพื่อป้องกันแมลงพาหะ มีวัสดุปูรองคอกเลี้ยงสัตว์ จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น วิตามิน ให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรทำความสะอาดโรงเรือน หรือคอกสัตว์ และพ่นทำลายเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์คอยสังเกตอาการของสัตว์ เป็นประจำ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที หรือแจ้งได้ที่ call center โทร. 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0

ข้อมูล / ข่าว : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เคี้ยวเอื้อง สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ