นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2561 นี้ กรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนม พร้อมกับทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง รอบที่ 2 ประจำปี 2561 จึงขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมให้นำสัตว์มาฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยพร้อมกันทั่วประเทศ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อน ประกอบกับสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งฝนตกและอากาศร้อนจัด ซึ่งอาจทำให้สัตว์เครียด สุขภาพอ่อนแอ ระดับภูมิคุ้มกันของโรคในสัตว์ลดลง ซึ่งอาจทำให้สัตว์เกิดการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคได้ง่าย สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร

                อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยให้กับโคนมยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้โคนมของเกษตรกรมีภูมิคุ้มกันต่อโรคปากและเท้าเปื่อย สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ และเพื่อลดปริมาณเชื้อ ลดการเกิดโรคและการแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ เนื่องจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนมแต่ละครั้ง ส่งผลต่อเกษตรกรผ้เลี้ยโคนมให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก ทั้งจากการสูยเสียรายได้จากการขายน้ำนมดิบได้ลดลง และค่าใช้จ่ายในการักษาสัตว์ป่วย ค่ายาสำหรับฆ่าเชื้อโรคในฟาร์ม ทำให้เกษตกรสูญเสียรายได้อีกทั้งเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยสามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมได้ยาวนาน จึงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในโคนมที่จะรับวัคซีนต้องเป็นสัตว์ที่มีสุขาภาพสมบูรณ์แข็งแรง และหลักงจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว เกษตรกรไม่ควรปล่อยสัตว์ลงแปลงหญ้าทันที ควรให้สัตว์อยู่ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้ดี มีอาหารและน้ำให้สัตว์กินที่เพียงพอ และจะต้องสังเกษตอาการแพร้วัคซีนในสัตว์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยหากโคนมแสดงอาการแพ้ ได้แก่ น้ำลายไหล มีผื่นแดงตามฟิวหนัง ตาบวม หน้าบวม หายใจหอบถี่ หรือล้มตัวลงนอน ให้รีบแจ้งสัตวแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เพื่อดำเนินการให้ยาแก้แพ้ทันที ดังนั้น จึงขอความร่วมมือเกษตรกรในการนำสัตว์มาฉีดวัคซีนโดยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขอรับการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่สำนังานปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน

                ท้ายนี้ กรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมดูแลสัตว์ของตนเองให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันสัตว์ของตนเองไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะนำเชื้อโรคเข้าฟาร์ม ได้แก่ คน ยานพาหนะต่างๆ ถังนม สัตว์ที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ ถุงอาหาร เป็นต้น ประกอบกับหมั่นสังเกตอาการของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วย โดยมีอาการซึม มีไข้ เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก ช่องปากและไรกีบ ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเดินกะเผลก หรืออาจมีเม็ดตุ่มที่เต้านม ทำให้เต้านมอักเสบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือโทรแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ที่เบอร์ 02-653-4412 หรือที่เว็บไซต์ http://www.esmartsur.net/เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที ทั้งนี้ากเกษตรกรให้ความร่วมมือในการให้สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการป้องกันการเกิดโรค โคนมของท่านก็จะปลอดจากโรคดังกล่าวได้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด