S 39403844

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นวิทยากรบรรยายในเรื่อง “Proactive against African Swine Fever” ในงานสัมมนา ”รู้ทัน และมาตรการเฝ้าระวังอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ให้แก่ฟาร์มลูกค้าอาหารสัตว์ซีพีเอฟ ณ ห้องประชุมโรงแรมสุโกศล ซึ่งจัดโดยธุรกิจอาหารสัตว์บก บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย)

 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้อมูล สถานการณ์โรค และมาตรการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม รองอธิบดีได้บรรยายถึงมาตรการต่างๆที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการเพื่อเตรียมรับมือกับโรค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดทำมาตรการ Clinical Practice Guideline (CPG) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ การทำหนังสือขอความร่วมมือทุกภาคส่วน การเข้มงวดการนำเข้าและชะลอการนำเข้าสินค้าสุกรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และการตรวจสัมภาระผู้เดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ได้มีการสำรวจโรคโดยการเก็บตัวอย่างจากจุดเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคเชิงรุก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังที่เต็มประสิทธิภาพ และซักซ้อมแผนการในกรณีที่พบและมีการระบาดของโรค

รองอธิบดีได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มแข็งและเข้มงวดกับการดำเนินงานของพนักงาน ให้ฟาร์มมีพื้นที่ buffer zone เพื่อการเฝ้าระวังโรครอบๆ รัศมี 5 กม. และขอให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการสังเกตและแจ้งโรคหากเกิดอาการตามนิยาม

รองอธิบดีเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการมีความตระหนัก แต่อย่าตื่นตระหนกในสถานการณ์ของโรค และป้องกันฟาร์มของตนเองให้รอบด้าน เพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนให้ดีที่สุด

13.30 น. ให้สัมภาษณ์ในรายการความรู้คู่เกษตร ของสถานีโทรทัศน์เกษตรทีวี HD49 เรื่อง อหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประเด็น รู้เท่าทัน โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ณ ห้องรับรอง ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

เนื่องด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่เคยมีการระบาดในประเทศไทย หากสุกรติดเชื้อ จะตายเกือบ 100% และเชื้อมีความทนทาน ไม่มียารักษา และวัคซีนป้องกันโรค กรมปศุสัตว์มีมาตรการในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคในด้านต่างๆ ทั้งการเข้มงวดตามบริเวณพรมแดน ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน อีกทั้งได้ฝากให้เกษตรกรและประชาชนงดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศจีน เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคน และเศษอาหารที่เหลือเลี้ยงสุกร อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แจ้งได้ที่แอพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือ โทร 0632256888

S__39403841.jpg S__39403842.jpg S__39403843.jpg

S__39403844.jpg S__39403845.jpg S__39403846.jpg

S__39403847.jpg

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์