S 40558726

วันที่ 24 มกราคม 2562 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อเรื่อง “update สถานการณ์ล่าสุดของ African Swine Fever ในประเทศจีนและประเทศไทย ความพร้อมในการรับมือ” ในรายการปศุสัตว์สนทนา ณ ห้อง 144 โรงพยาบาลปศุสัตว์ ศูนย์ฝึกนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเกษตรกร สัตวแพทย์ผู้ปฏิบัติงานเอกชน คณาจารย์ และบุคลากรของกรมปศุสัตว์เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย

ด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคระบาดตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กรมปศุสัตว์มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในการควบคุม และป้องกันโรค รองอธิบดีได้ให้ข้อสังเกตแก่เกษตรกร เกี่ยวกับเชื้อ ดังนี้ ความสำคัญของโรค มี 4+1 คือ ไม่สามารถใช้ยารักษาให้หาย ยังไม่สามารถทำวัคซีนได้ ตัวเชื้อมีความทนทานแข็งแรง ทำให้สุกรตายเกือบ 100% และไม่ใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

อีกทั้งได้แจ้งมาตรการการเตรียมพร้อมต่างๆของกรมปศุสัตว์โดยรอบด้าน เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบถึงความเอาใจใส่ของภาครัฐ และรับรู้ถึงความเสี่ยงของโรคระบาด เพื่อนำไปปรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของตน

ทั้งนี้ รองอธิบดีได้เน้นย้ำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงจรการเลี้ยงสุกร มีสำนึกความรับผิดชอบในการป้องกันโรคของตน และผู้เลี้ยงเกษตรกรรายย่อยรอบข้าง หมั่นสังเกตอาการป่วยของสุกร หากเข้าตามนิยามการเกิดโรค ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที

14.00 น. เป็นประธานในการประชุมติดตามงานด้านสุขภาพสัตว์ ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 7 โดยมีปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ ผอ.ศวพ.ราชบุรี ศูนวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง และนายสัตวแพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวังโรคแอฟริกาในสุกร โดยจะมีหนังสือสั่งการอีกครั้งให้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งให้เฝ้าสังเกตอาการสุกรหากเข้านิยามให้รีบดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เขตเป็นผู้ตรวจประเมิน

ทั้งนี้ ได้ขอให้ศูนย์ สถานีที่มีการเลี้ยงสัตว์ปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของตน และเข้าระบบมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรายย่อย

  • โรคปากและเท้าเปื่อย รองอธิบดีได้มอบหมายให้ปศุสัตว์เขตจัด “สามแพร่งโมเดล” ฉีดวัคซีนควบคุมโรคเพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง ในพื้นที่รอยต่อระหว่างกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม โดยให้ฉีดอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ด่านกักกันสัตว์เข้มงวดการเคลื่อนย้าย และพื้นที่ปลายทางให้เข้มงวดในการตรวจรับสัตว์ปลายทาง
  • เร่งรัดการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอบวม ให้ครอบคลุมสัตว์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในกระบือ
  • มาตรการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า 3+1 โดยเน้นที่การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์ เร่งรัดการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคของท้องถิ่น และเน้นย้ำให้มีกระบวนการตัดสินใจระดับพื้นที่ หรือประชาคม ทุกครั้งที่พบการระบาดของโรค เพื่อเป็นการควบคุมพาหะนำโรคได้อย่างยั่งยืน

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ