S 17615271

วันที่ 11 มี.ค. 62 เวลา 11.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน “การประชุมอาหารและอาหารสัตว์โลกครั้งที่ 6” (The 6th Global Feed and Food Congress ; GFFC 2019) ณ โรงแรมแชงกรีล่า

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์ในลำดับต้นๆ ของโลก กรมปศุสัตว์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ได้กำกับดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร (food chain) โดยที่อาหารสัตว์ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ เนื่องจากเป็นต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้กำกับดูแลอาหารสัตว์ให้มีคุณภาพและมีความปลอดภัยมากว่า 50 ปี โดยมีกฎหมายที่กำกับดูแลทั้งผู้นำเข้า ผู้ผลิต และผู้ขายอาหารสัตว์ รวมถึงเกษตรกรที่ใช้อาหารสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศห้ามเติมหรือผสมยาสัตว์ ฮอร์โมน และสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายและส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคลงในอาหารสัตว์ เช่น สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (สารเร่งเนื้อแดง) ฮอร์โมนไดเอทิลสติลเบสโทรล (ฮอร์โมนเร่งโต) และยากลุ่มคลอแรมเฟนิคอลและกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ เป็นต้น โดยที่ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญด้านการสาธารณสุข และเป็นปัญหามีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดั้งนั้นภาคปศุสัตว์มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 30 % ภายในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการกำกับดูแลให้มีการใช้ยาในสัตว์อย่างถูกต้องมาโดยตลอด โดยล่าสุดได้มีการออกกฎหมายที่กำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated Feed) นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ จนกระทั่งมีการดำเนินโครงการการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ (Raised Without Antibiotics; RWA) เป็นต้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2562 สหพันธ์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์นานาชาติ (International Feed Industry Federation; IFIF) โดยการสนับสนุนขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดงาน “การประชุมอาหารและอาหารสัตว์โลกครั้งที่ 6 (The 6th Global Feed and Food Congress; GFFC 2019)” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ร่วมบรรยายให้ความรู้และร่วมเสวนากับผู้เข้าร่วมประชุมที่มีความเกี่ยวข้องและสนใจงานด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยในปีนี้จะเน้นในหัวข้อ “The future of Feed & Food-are we ready” ซึ่งจะมีการกล่าวถึงการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง มีการเจ็บป่วยและใช้ยาต้านจุลชีพน้อยลง ตลอดจนการหาทางเลือกอื่นๆ (Alternative) เฉพาะอย่างยิ่งวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (Feed additives) เช่น โปรไบโอติก (Probiotics) และสมุนไพร เป็นต้น เพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีความปลอดภัย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปศุสัตว์ สามารถผลิตปศุสัตว์ที่จะเป็นแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนแก่ผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างเพียงพอและปลอดภัยในอนาคตต่อไป

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ