2567 11 11 0004

กรมปศุสัตว์เรียกเจ้าของสัตว์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อชี้แจงกรณีมีการร้องเรียนว่ามีซีรีส์ดังเรื่องหนึ่ง ได้ออกอากาศ โดยมีฉากที่ “แมวถูกวางยา” ซึ่งในฉากแมวดำมีอาการ ตัวกระตุก ตัวเกร็ง พร้อมทั้งมีการขย้อนอาหารออกมา ซึ่งอาจเข้าข่ายทารุณกรรมสัตว์หรือไม่ กรมปศุสัตว์พร้อมบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมา และแจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนต่อไป

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ แถลงข่าวกรณี ซีรีส์ดังเรื่องหนึ่ง ได้ออกอากาศ โดยมีฉากที่ “แมวถูกวางยา” ซึ่งในฉากแมวดำมีอาการ ตัวกระตุก ตัวเกร็ง พร้อมทั้งมีการขย้อนอาหารออกมา ว่าอาจเข้าข่ายทารุณกรรมสัตว์หรือไม่ ซึ่งขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการส่งหนังสือถึงสถานีโทรทัศน์เพื่อให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในกรณีการวางยาสลบแมวเพื่อการแสดงว่าเข้าข่ายการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 หรือไม่ ส่วนการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ. วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 หรือ พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องต่อไป

พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มีบทบัญญัติตามมาตรา 24 กำหนดให้เจ้าของสัตว์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมสำหรับการนำสัตว์ไปใช้งานหรือใช้ในการแสดง ทั้งนี้ยังไม่มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติในการนำสัตว์มาใช้ในการแสดงไว้เป็นการเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าของสัตว์หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติโดยมีหลักการจัดสวัสดิภาพสัตว์ กล่าวคือ การใช้งานสัตว์ต้องมีการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่เหมาะสม ทั้งอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมธรรมชาติ ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ทำให้สัตว์เกิดความหวาดกลัวหรือระแวง ไม่ควรนำสัตว์ไปทำงานอันไม่สมควรที่อาจทำให้สัตว์นั้นเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต ซึ่งอาจเข้าข่ายการทารุณกรรมสัตว์ ส่วนการกระทำใดๆ ต่อร่างกายสัตว์ ที่เข้าลักษณะการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ ต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสัตวแพทย์ โดยข้อยกเว้นตามมาตรา 21 (7), (10), และ (11) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ต้องเป็นการกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ หรือ การกระทำอื่นใดที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือ การกระทำอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการป้องกันทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์โดยกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ ในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในความรับผิดชอบตามกฎหมายฉบับนี้ จะดำเนินการใช้อำนาจตามมาตรา 25 (1) มีหนังสือเรียกเจ้าของสัตว์ ผู้แทนองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์สัตว์หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ทั้งนี้หากพบว่ามีความผิดตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้หากเจ้าของสัตว์ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตรามมาตรา 22 มาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท ซึ่งหากพบว่ามีการกระทำผิดจริงทางกรมปศุสัตว์จะดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนต่อไป

****************************
ภาพข่าว : ฉัตรชัย นวลปลอด กลุ่มเผยแพร่ฯ สลก.
ข้อมูล : กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์
เรียบเรียงข่าว : สลิลรัตน์ ชูโชติ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม


บันทึก
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็น
ยอมรับทั้งหมด
ปฏิเสธทั้งหมด
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
ยอมรับ
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
ยอมรับ
ปฏิเสธ