2565 01 08 003

วันที่ 8 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พบปะกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เพื่อรับฟังพร้อมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ 7 จังหวัดภาคเหนือที่มีการเลี้ยงสุกร นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผอ.กองส่งเสริมและพัฒนาการ ปศุสัตว์เขต 5 และ 6 ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เขต 5 และ 6 เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. กลุ่มเกษตรกรรายย่อย และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ ให้การต้อนรับ ณ อาคารโดมแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาเนื้อสุกรในประเทศปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ซึ่งส่งผลให้ความต้องการของตลาดในประเทศลดลง ประกอบกับเกษตรกรและผู้ประกอบการบางส่วนปรับแผนการผลิต ลดจำนวนสุกรลง รวมถึงปัญหาโรคในสุกรที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องการสุกรจากไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ตลาดสุกรในประเทศมีไม่เพียงพอ ทำให้ราคาเนื้อสุกรสดปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการมาตรการระยะสั้น และระยะยาวในทันที โดยจะเร่งฟื้นฟูผู้เลี้ยงรายย่อย 180,000 ราย ส่งเสริมการจัดหาพันธุ์สุกรให้ในราคาทุน โดยจะขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้ผลิตลูกสุกรเพิ่ม ส่งให้เกษตรกรรายย่อยเลี้ยง โดยจะใช้เงินทุนจากธนาคาร ธ.ก.ส. ภายใต้ “โครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร” เข้ามาสนับสนุน เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินการ สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีความต้องการเลี้ยงสุกร จะจัดหาแม่พันธุ์สุกรให้ 2 ตัว สุกรขุน 20 ตัว และอาหารสัตว์ และให้ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เข้าให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

ด้านนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์วางแผนการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรดังนี้
1. การส่งเสริมการเลี้ยง โดยประเมินระดับความเสี่ยง ภายใน15 ม.ค. เพื่อที่จะทราบว่าพื้นที่ใดเป็นเป้าหมาย
2. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ภายใน31ม.ค.
3. สำรวจความต้องการเกษตรกรที่จะกลับมาเลี้ยงใหม่ ทั้งรายเล็กและรายย่อยที่หยุดเลี้ยงเนื่องจากประสบภาวะต้นทุนสูงให้กลับมาเลี้ยงใหม่โดยให้มีการยกระดับการเลี้ยงตามที่กรมฯกำหนด และผ่านการประเมินความเสี่ยงตามที่กรมฯกำหนด พร้อมจัดหาพันธุ์สัตว์ในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม
4. ร่วมกับ ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ จำนวน 30,000 ล้านบาทรวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้
โดยมีเกษตรกรให้ความสนใจในการเลี้ยงสุกรจำนวนมาก โดยทางปศุสัตว์จังหวัดในภาคเหนือจะให้การสนับสนุนต่อไป

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกระแสข่าวที่ว่าได้พบการระบาดของโรคอหิวาตห์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในประเทศไทยแล้วนั้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้วไประยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบต้องเป็นไปตามขั้นตอนให้ครบถ้วนละเอียดรอบคอบ รอบด้าน เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบ ตามหลักวิชาการ ตามมาตรฐานและหลักสากล เมื่อรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลได้ครบถ้วน จะรายงานให้สาธารณะชนทราบ ตามความเป็นจริง โดยจะไม่มีการปกปิดหรือปิดบังใดๆ ทั้งสิ้น

 

ข่าว จิราภรณ์ เกตุบูรณะ / ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม

2565_01_08_001.jpg 2565_01_08_002.jpg 2565_01_08_003.jpg

2565_01_08_004.jpg 2565_01_08_005.jpg 2565_01_08_006.jpg

2565_01_08_007.jpg 2565_01_08_008.jpg 2565_01_08_009.jpg

2565_01_08_010.jpg 2565_01_08_011.jpg 2565_01_08_012.jpg

2565_01_08_013.jpg 2565_01_08_014.jpg 2565_01_08_015.jpg

2565_01_08_016.jpg 2565_01_08_017.jpg 2565_01_08_018.jpg

2565_01_08_019.jpg 2565_01_08_020.jpg 2565_01_08_021.jpg

2565_01_08_022.jpg 2565_01_08_023.jpg 2565_01_08_024.jpg

2565_01_08_025.jpg 2565_01_08_026.jpg 2565_01_08_027.jpg

2565_01_08_028.jpg 2565_01_08_029.jpg 2565_01_08_030.jpg

2565_01_08_031.jpg 2565_01_08_032.jpg 2565_01_08_033.jpg

2565_01_08_034.jpg 2565_01_08_035.jpg 2565_01_08_036.jpg

2565_01_08_037.jpg 2565_01_08_038.jpg 2565_01_08_039.jpg

2565_01_08_040.jpg 2565_01_08_041.jpg 2565_01_08_042.jpg

2565_01_08_043.jpg 2565_01_08_044.jpg 2565_01_08_045.jpg

2565_01_08_046.jpg 2565_01_08_047.jpg 2565_01_08_048.jpg

2565_01_08_049.jpg 2565_01_08_050.jpg