Legal dld

205027

สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ฯ ร่วมกับ กรมปศุสัตว์ สัตวแพทยสภา สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก และ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกร ประกาศเจตนารมณ์ ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งเป้าการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ลงร้อยละ ๓๐ ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ในงานสัมมนาหลักสูตร“มุ่งมั่นรวมใจ สินค้าปศุสัตว์ไทย ปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ” ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๑

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า”กรมปศุสัตว์เป็นองค์กรหลักที่ขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในตลาดโลก โดยมีภารกิจกำหนดทิศทาง นโยบาย ควบคุม กำกับ ส่งเสริม วิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ เพื่อให้ปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้าง และสารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สำหรับปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ถือเป็นปัญหาสำคัญ และกำลังอยู่ในความสนใจในระดับนานาชาติ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้บรรจุโครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์” ลงในแผนปฏิบัติการการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ที่จะลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์ลงร้อยละ ๓๐ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ อีกทั้งการที่กรมปศุสัตว์มีหน้าที่ในการตรวจประเมิน รับรอง กำกับ ดูแล การผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งห่วงโซ่ โดยเริ่มตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มมาตรฐาน รวมถึงสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ที่เป็นภาคส่วนที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ และในส่วนของโรงฆ่าสัตว์ สถานที่จำหน่ายสินค้าปศุสัตว์ เป็นภาคส่วนที่มีการตรวจสอบการตกค้างของยาปฏิชีวนะ”

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า”กรมปศุสัตว์ได้บรรจุกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการกำกับ ดูแล เช่น - พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ มีการระบุสารต้องห้ามที่ห้ามผสมในอาหารสัตว์ - ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ หรือมาตรฐานฟาร์ม มีการระบุบทลงโทษในกรณีที่ตรวจพบสารตกค้างหรือสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์- ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ มีการระบุบทลงโทษในกรณีที่ตรวจพบสารตกค้างหรือสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม โดยอาจจะพักใช้หรือเพิกถอนใบรับรองสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ - กิจกรรม Monitoring plan เพื่อเฝ้าระวังสารตกค้าง ที่มีการเก็บตัวอย่างสินค้าส่งตรวจทั้งจากโรงฆ่าสัตว์ รวมถึงสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ และขอย้ำว่ากรมปศุสัตว์ จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสินค้าปศุสัตว์ รวมถึงการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในสินค้าปศุสัตว์สำหรับผู้บริโภค”

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ กล่าวในฐานะนายกสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯว่า “สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นสมาคมที่มีภารกิจหน้าที่ในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสัตวแพทย์ เช่น ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมวิชาชีพสัตวแพทย์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้น เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และส่งเสริมวิชาชีพให้มีการพัฒนาให้ทันสมัย โดยได้มีการจัดประชุมวิชาการสัตวแพทย์ รวมถึงการให้ความรู้ คำแนะนำแก่บุคคลทั่วไปในด้านการปศุสัตว์ และการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สินค้าปศุสัตว์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์นั้น สัตวแพทย์ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยต้องมีการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องก่อนการใช้ยาเพื่อการบำบัดรักษาโรคในสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคสัตว์ ต้องมีการใช้อย่างเหมาะสม และใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สัตวบาล และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ ลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ลงร้อยละ ๓๐ ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ทั้งนี้สัตวแพทยสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับสัตวแพทยสภา และภาคมหาวิทยาลัยในการจัดทำแนวทางปฏิบัติ(Guideline) การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์เพื่อเป็นคู่มือให้สัตวแพทย์มีการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ขอประกาศว่า จะเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะในวงการปศุสัตว์อย่างเหมาะสม เพื่อให้สินค้าปศุสัตว์ไทยปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นสิ่งที่วิชาชีพสัตวแพทย์ได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด”

ผศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม นายกสัตวแพทยสภา เปิดเผยว่า สัตวแพทยสภา เป็นองค์การ มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยร่วมมือจากทุกภาคส่วนซึ่งวัตถุประสงค์ของสัตวแพทยสภา มีด้วยกันหลายประการเช่นควบคุมการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสัตวแพทย์ ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การบริการทางด้านวิชาการแก่สมาชิก รวมทั้งประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยมีการพัฒนาวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ คุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีความเป็นธรรม และสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะในวงการปศุสัตว์สัตวแพทยสภา จะเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะในวงการปศุสัตว์อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นสิ่งที่วิชาชีพสัตวแพทย์ได้ถือปฏิบัติมาโดยตลอด ดังปณิฐานที่ว่าสัตวแพทยสภา ยึดมั่นมาตรฐาน สานความร่วมมือ ยึดถือประโยชน์ต่อสังคม

ผศ.นายสัตวแพทย์ ดร. สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่าสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย มีภารกิจหน้าที่หลักในการส่งเสริมให้สมาชิกสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกร รับผิดชอบดูแลสุขภาพและป้องกันโรคแก่สุกรตามหลักวิชาการ รวมถึงการให้ความรู้คำแนะนำแกบุคคลทั่วไปในด้านการจัดการสุขภาพสุกร ทั้งนี้เพื่อยกระดับวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับแก่สังคม และยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมการบริโภคเนื้อสุกรที่มีคุณภาพและความปลอดภัย สำหรับแนวทางการใช้ยาต้านจุลชีพในสุกร สมาชิกของสมาคมถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การใช้ยาอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ ทั้งนี้สมาคมถือเป็นความรับผิดชอบที่จะผลิตเนื้อสุกรที่ปลอดภัยจากการตกค้างของยาปฏิชีวนะ โดยสมาคมได้ร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เช่น เกษตรกร สัตวบาล ผู้บริโภค ในการแก้ปัญหาการดื้อยา เพื่อสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายสำคัญ คือ ลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลงร้อยละ ๓๐ ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ต่อไป

น.สพ.สุเมธ ทรัพย์ชูกุล นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย มีการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตตามหลักอาหารปลอดภัย ได้มาตรฐานสากล ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไก่เนื้อไทยที่สามารถส่งออกเนื้อไก่ไปยังต่างประเทศโดยมีคู่ค้าที่สำคัญทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง ซึ่งยอมรับในมาตรฐานการผลิตของไทยที่สะอาดปลอดภัย ตั้งแต่การเลี้ยงในระบบโรงเรือน ความสามารถของนักโภชนาการอาหารสัตว์ ที่ปรุงอาหารได้ตรงความต้องการ ไม่เหลือทิ้งเป็นให้เชื้อก่อโรคเพิ่มจำนวน และนักพันธุกรรมก็คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคที่ดี สัตวแพทย์ขจัดโรคที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ได้เด็ดขาด จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือหากมีการหลุดรั่วป่วยก็ต้องรักษา ใช้ยาเท่าที่จำเป็น ยาต้องมีคุณภาพเพื่อหวังผล

ที่มาของข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline