Legal dld

pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการระบาดที่รุนแรงขึ้น กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตรการเบื้องต้นในการควบคุมป้องกันโรคมิให้เข้ามาภายในประเทศ แต่การควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน แผนการเผชิญเหตุจึงจำเป็นต้องมีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับและปฏิบัติได้จริง

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกรซึ่งมีสุกรป่าเป็นแหล่งรังโรคและมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นในอนุภูมิภาคซาฮาราของทวีปอัฟริกา ประเทศซาดิเนียของทวีปยุโรป ต่อมาพบการระบาดของโรคในประเทศจอร์เจีย ประเทศอาเซอร์ไบจัน ประเทศอาร์เมเนีย สหพันธรัฐรัสเซียและล่าสุด

ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยโรคนี้เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นสำหรับประเทศไทยรวมทั้งประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะของโรคได้ตลอดชีวิตและยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงมาก โดยทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ สุกรที่ป่วยจะแสดงอาการคล้ายคลึงกับโรคอหิวาต์สุกรและพีอาร์อาร์เอส คือ มีไข้สูง เบื่ออาหาร ท้องเสีย และแท้งในแม่สุกร โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรสามารถติดต่อได้จากการที่สุกรสัมผัสโดยตรงกับสิ่งคัดหลั่งของสุกรป่วย การหายใจเอาเชื้อเข้าไป การกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน รวมทั้งโดนเห็บที่มีเชื้อกัด เป็นต้น ทั้งนี้จากผลการสอบสวนโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในสหพันธ์รัสเซีย พบว่ามีสาเหตุจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสในไส้กรอกและซาลามีซึ่งบริโภคแบบไม่ปรุงสุก ที่คนบริโภคไม่หมดแล้วนำไปเลี้ยงสุกร

อธิบดีกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ภายในภูมิภาค รวมถึงมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนกับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค

อย่างไรก็ตาม ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกรมปศุสัตว์จึงได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา

สภาหรือสมาคมวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร หน่วยงานความมั่นคง เป็นต้น สำหรับการประชุมในครั้งนี้

เป็นการประชุมครั้งแรกซึ่งกรมปศุสัตว์จำเป็นต้องมีการเชิญประชุมอีกในหลายวาระถัดไปเพื่อให้การจัดทำแผนมีความครบถ้วนและมีประสิทธิภาพได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ซึ่งกรอบในการจัดทำแผนจะประกอบด้วย 7 ประเด็น คือ

การป้องกันโรคเข้าประเทศเชิงบูรณาการ การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคของฟาร์ม การสื่อสารความเสี่ยงและการเตือนภัย การเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรค เครือข่ายทางห้องปฏิบัติการ การควบคุมโรค และการฟื้นฟูเกษตรกรภายหลังได้รับผลกระทบจากโรค

​​ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline