Legal dld

25610918 1

กรมปศุสัตว์เน้นย้ำประชาชนอย่าบริโภคเนื้อสัตว์ที่ตายเองโดยไม่ได้ถูกฆ่า เพราะไม่ปลอดภัย เสี่ยงติดเชื้อโรคและสารตกค้าง เตือนผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่มิได้รับรองจากพนักงานตรวจโรคสัตว์ มีความผิดตามพรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์พ.ศ. 2559 แนะนำเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ผ่านการฆ่าและชำแหละมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งมีพนักงานตรวจโรคสัตว์ ให้การรับรองเนื้อสัตว์เพื่อการจำหน่าย จะมีความปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้ชำแหละซากโคที่ป่วยตายแล้ว นำเนื้อไปบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นโคที่ป่วยตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า นั้น กรมปศุสัตว์ขอแจ้งเตือนประชาชน ให้เลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ผ่านการฆ่าชำแหละมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งจะมีพนักงานตรวจโรคสัตว์ทำหน้าที่ตรวจสัตว์มีชีวิตก่อนฆ่า ตรวจเนื้อสัตว์ รวมถึงให้การรับรองเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ ซึ่งเนื้อสัตว์ที่ผ่านการรับรองให้จำหน่ายมีความปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค

นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนอย่าชำแหละซากสัตว์ที่ป่วยตาย และห้ามนำเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายมาบริโภคหรือจำหน่ายโดยเด็ดขาด เพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ อาทิ โรคพิษสุนัขบ้า โรคแอนแทรกซ์ โรคบรูเซลโลสิส โรคไข้หูดับ เป็นต้น สำหรับผู้ชำแหละและผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์โดยมิได้ถูกฆ่า จะมีความผิดตามมาตรา 36 37 และ 38 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 กล่าวคือ

  • นำสัตว์ที่ตายโดยไม่ได้ถูกฆ่าไปชำแหละเอง โดยไม่ได้ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์ตรวจ มีโทษปรับเรียงตามรายตัวของสัตว์ ตามมาตรา 60 คือ โคหรือกระบือ ตัวละไม่เกิน 5 หมื่นบาท แพะ แกะ สุกร หรือนกกระจอกเทศ ตัวละไม่เกิน 2 หมื่นบาท ไก่ เป็ด ห่าน ตัวละไม่เกิน 1 พันบาท และสัตว์อื่น ตัวละไม่เกิน 2 หมื่นบาท
  • นำเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการตรวจโรคสัตว์โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์มาชำแหละและตัดแต่งหรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่พนักงานตรวจโรคสัตว์ไม่ได้รับรอง หากฝ่าฝืนจะมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 เป็นกฎหมายที่มุ่งสร้างระบบการควบคุมตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการฆ่าสัตว์และการขนส่งเนื้อสัตว์ รวมถึงการชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์เพื่อการจำหน่ายให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย หากประชาชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือพบเห็นการกระทำผิดด้านปศุสัตว์ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับข้อมูล หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยแจ้งผ่านแอพพลิเคชั่น “DLD 4.0 ที่ดาวน์โหลดและติดตั้งได้ในโทรศัพท์ทุกระบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างทันท่วงที

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูล/ผู้เรียบเรียง : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ (วันที่ 18 กันยายน 2561)


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline