Legal dld

25610925 1

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการระบาดที่รุนแรงขึ้น กรมปศุสัตว์จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) มีหน้าที่ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ของโรคเป็นรายวันโดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการเช่น OIE FAO และแหล่งข่าวที่ไม่เป็นทางการ เพื่อกำหนดมาตรการการเฝ้าระวังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของโรค มิให้สามารถเข้ามาสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทยได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการรวบรวมข้อมูลของ War roomพบการระบาดของโรคล่าสุดในประเทศจีน 2 outbreak ในวันที่ 21 กันยายน 2561 ที่เมือง Gongzhuling มณฑล Jiling ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ และที่เขตปกครองพิเศษมองโกลเลีย ทำให้สถานการณ์การระบาดในประเทศจีนตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันมีการระบาดรวมทั้งสิ้น 20 outbreak ใน 8 มณพล และสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ทั่วโลกตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 – 21 กันยายน 2561 มีรายงานการระบาด 14 ครั้ง ในทวีปยุโรป 4 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 1 ประเทศ (แหล่งข้อมูล: OIE) นอกจากนี้จากแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการพบการระบาดครั้งที่ 21 ในวันที่ 24 กันยายน 2561 ที่มณฑล Nei Meug gu ทางตอนเหนือของประเทศ

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้เข้มงวดการตรวจจับการลักลอบนำผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยที่กลับจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงนำเข้ามาในประเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามช่องทางเข้าออก (Port of entry) เช่น สนามบินนานาชาติ ท่าเรือ จุดผ่านแดนต่างๆ  โดยในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้ใช้ศักยภาพของเจ้าหน้าที่และสุนัขดมกลิ่นซึ่งมีระบบประสาทในการรับกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์ถึง 40 เท่า กลิ่นของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จะยังคงติดที่ถุงบรรจุ สุนัขจะสามารถตรวจพบแม้นว่าอยู่ในถุงปิดอย่างแน่นหนา กรณีเครื่องเอ็กซเรย์ของกรมศุลกากรจะนิยมใช้กับการตรวจวัตถุระเบิด อาวุธปืน ของเหลว อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในกรณีเครื่องเอ็กซเรย์ดูได้มิติเดียว และหากมีการซ้อนทับของวัตถุจะหลุดรอดได้ ดังนั้นการใช้สุนัขดมกลิ่น ตรวจที่สายพานกระเป๋า ร่วมกับการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ของกรมศุลกากรตรวจร่วมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับได้มากว่าเดิม ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้แจ้งขอความร่วมมือ กรมศุลกากร และ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการเข้มงวดตรวจการลักลอบนำผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์เข้าประเทศ

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป


ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline