Legal dld

pic02

วันที่ 26 ต.ค.2561 ที่โรงแรมบุรีศรีภูฯ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงนโยบายมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และการเฝ้าระวังการใช้สารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มสุกร โดยมี นายสัตวแพทย์กิติกรณ์ เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ร่วมให้การต้อนรับ และมีนายสัตวแพทย์สุขุม สนธิพันธ์ จากสำนักควบคุมและบำบัดโรคสัตว์ ร่วมให้ข้อมูลในมาตรการเฝ้าระวัง และแนวทางการป้องกันโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกา และมีผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ขณะนี้พบการระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศจีนตอนใต้ คือ มณฑลยูนนาน หากมีการระบาดจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร กรมปศุสัตว์ จึงได้เตรียมแผนเผชิญเหตุ โดยมีอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธาน ในการเร่งกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเข้ามาในไทย เนื่องจากโรคนี้สามารถปนเปื้อนมากับนักท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์สุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุก ที่สำคัญโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ต่างจากเชื้ออหิวาต์ทั่วไปใน 4 เรื่อง คือ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ไม่มียารักษา ตัวเชื้อเป็น DNA ไวรัส มีความทนต่อทุกสภาวะเป็นอย่างมาก และสุกรที่ติดเชื้อดังกล่าวแล้วจะเป็นตัวแพร่ตลอดชีวิต

ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ ทั้งที่ท่าอากาศยานนานาชาติ และชายแดนทั่วประเทศเฝ้าระวังการลักลอบนำเข้าซากสุกรเข้ามาในประเทศอย่างเข้มงวด และอีกเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตร ตลอดจนกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค คือ การใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการตรวจสุ่มตรวจฟาร์มเลี้ยงสุกร เพื่อหาสารเร่งเนื้อแดงในกระบวนการเลี้ยง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค โดยได้ดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ ทำให้ปัจจุบันการใช้สารเร่งเนื้อแดงลดลงอย่างมาก

ด้าน นายสัตวแพทย์กิติกรณ์ เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตสุกรในภาคใต้ แต่ละปีมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีการเลี้ยงในภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อย จำนวนกว่า 22,000 ราย อีกทั้งมีการผลิตสุกรในระบบกว่า 1 ล้านตัว โดยแบ่งออกเป็นการผลิตสุกรพื้นเมือง สุกรพ่อพันธุ์ สุกรแม่พันธุ์ และสุกรขุน ในจำนวนนี้ จ.สงขลา มีการผลิตสุกรในระบบทั้งสิ้น 111,774 ตัว และมีผู้เลี้ยงสุกร จำนวน 2,082 ราย การผลิตสุกรในระบบอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐาน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากสุกรที่มีคุณภาพ

ทั้งนี้ กระบวนการทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตจำเป็นต้องได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนในการบริโภคเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย

ที่มาของข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่:  https://mgronline.com/south/detail/9610000107045


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline