Legal dld

pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกฤษฎา บุญราช พร้อมด้วยอธิบดีกรมปศุสัตว์ และคณะได้เดินทางไปประชุมระดับโลกด้านการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Second OIE Global Conference on Antimicrobial Resistance and Prudent Use of Antimicrobial Agents in Animal) ณ เมืองมาราเกซ ราชอาณาจักรโมร็อกโก เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อร่วมแบ่งปันข้อมูลด้านการจัดการ และการรับมือความท้าทายการดื้อยาต้านจุลชีพของหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศไทย ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรจากอีก 10 กว่าประเทศทั่วโลก เช่น เยอรมันนี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร นั้น ทั้งนี้เพื่อให้ การทำงานมีความต่อเนื่อง จึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม Call to Action on Antimicrobial Resistance ครั้งที่ 2 ณ กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน 2561

ซึ่งจากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nation: UNGA) สมัยที่ 71 (พ.ศ.2559) ที่ประเทศไทยได้สนับสนุนและร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมือง เรื่อง การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance – AMR) โดยมีกลุ่ม Interagency Coordination Group on AMR (IACG) เป็นกลไกการขับเคลื่อนปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าว และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพร่วม (co-host) จัดการประชุม Call to Action on AMR ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม 2560 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การประชุม Call to Action on Antimicrobial Resistance ครั้งที่ 2 นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ ประการแรก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ทำงานเชิงรุกระดับนโยบาย ทั้งในประเทศจนถึงระดับโลกในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา AMR และนำเสนอกรณีตัวอย่าง ประการที่สอง เพื่อธำรงรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง การขับเคลื่อนงาน AMR ในระดับประเทศและระดับโลกผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชา-สังคม และประการสุดท้าย เพื่อนำเสนอกระบวนการการทำงานของกลุ่มประสานงานหน่วยงานด้านการจัดการเชื้อดื้อยาระหว่างประเทศ (Interagency Coordination Group on AMR : IACG) และผลงานที่ IACG จะส่งมอบและรายงานต่อเลขาธิการสหประชาชาติ ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 73 โดยมีเจ้าภาพร่วมซึ่งประกอบด้วย ประเทศไทย สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐกานา มูลนิธิ Wellcome Trust มูลนิธิสหประชาชาติ และธนาคารโลก โดยคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์การดื้อยา ต้านจุลชีพ ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็น co-host สำหรับจัดการประชุม โดยมีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อธิบดีกรมปศุสัตว์ และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนจากประเทศไทย ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 นั้น เป็นการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวง ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ พร้อมเป้าประสงค์ที่วัดได้ เราคาดว่าภายในปี พ.ศ. 2564 การป่วยจากเชื้อดื้อยาจะลดลงร้อยละ 50 การใช้ยาต้าน จุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามลำดับ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และประเทศไทยมีระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากล ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพหลักยุทธศาสตร์ “การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้าน จุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง” เช่น เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ กำหนดให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพตามใบสั่งสัตวแพทย์ และลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มปศุสัตว์และประมง โดยมีกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการที่สำคัญ คือ โครงการพิเศษ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ” (Raised Without Antibiotics; RWA) ซึ่งได้มีการลงนามกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561

“ประเทศไทยยืนยันการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของ OIE ซึ่งสอดคล้องกับแผนดำเนินการระดับโลกตามความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เรื่องการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ สะท้อนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมแก้ไขปัญหาการการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้จะสำเร็จได้ต้องใช้ระยะเวลาและความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกภาคส่วน เรามั่นใจว่าด้วยความเข้าใจและความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป้าหมายที่กำหนดไว้ในการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งมีความซับซ้อนจะบรรลุผลในที่สุด” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

*****************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline