Legal dld

S 40558726

วันที่ 24 มกราคม 2562 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อเรื่อง “update สถานการณ์ล่าสุดของ African Swine Fever ในประเทศจีนและประเทศไทย ความพร้อมในการรับมือ” ในรายการปศุสัตว์สนทนา ณ ห้อง 144 โรงพยาบาลปศุสัตว์ ศูนย์ฝึกนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีเกษตรกร สัตวแพทย์ผู้ปฏิบัติงานเอกชน คณาจารย์ และบุคลากรของกรมปศุสัตว์เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย

ด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคระบาดตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กรมปศุสัตว์มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในการควบคุม และป้องกันโรค รองอธิบดีได้ให้ข้อสังเกตแก่เกษตรกร เกี่ยวกับเชื้อ ดังนี้ ความสำคัญของโรค มี 4+1 คือ ไม่สามารถใช้ยารักษาให้หาย ยังไม่สามารถทำวัคซีนได้ ตัวเชื้อมีความทนทานแข็งแรง ทำให้สุกรตายเกือบ 100% และไม่ใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

อีกทั้งได้แจ้งมาตรการการเตรียมพร้อมต่างๆของกรมปศุสัตว์โดยรอบด้าน เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบถึงความเอาใจใส่ของภาครัฐ และรับรู้ถึงความเสี่ยงของโรคระบาด เพื่อนำไปปรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของตน

ทั้งนี้ รองอธิบดีได้เน้นย้ำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงจรการเลี้ยงสุกร มีสำนึกความรับผิดชอบในการป้องกันโรคของตน และผู้เลี้ยงเกษตรกรรายย่อยรอบข้าง หมั่นสังเกตอาการป่วยของสุกร หากเข้าตามนิยามการเกิดโรค ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที

14.00 น. เป็นประธานในการประชุมติดตามงานด้านสุขภาพสัตว์ ในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 7 โดยมีปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ ผอ.ศวพ.ราชบุรี ศูนวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง และนายสัตวแพทย์ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สำนักงานปศุสัตว์เขต 7 โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ ดังนี้

โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการเฝ้าระวังโรคแอฟริกาในสุกร โดยจะมีหนังสือสั่งการอีกครั้งให้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งให้เฝ้าสังเกตอาการสุกรหากเข้านิยามให้รีบดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เขตเป็นผู้ตรวจประเมิน

ทั้งนี้ ได้ขอให้ศูนย์ สถานีที่มีการเลี้ยงสัตว์ปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของตน และเข้าระบบมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรายย่อย

  • โรคปากและเท้าเปื่อย รองอธิบดีได้มอบหมายให้ปศุสัตว์เขตจัด “สามแพร่งโมเดล” ฉีดวัคซีนควบคุมโรคเพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง ในพื้นที่รอยต่อระหว่างกาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม โดยให้ฉีดอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ด่านกักกันสัตว์เข้มงวดการเคลื่อนย้าย และพื้นที่ปลายทางให้เข้มงวดในการตรวจรับสัตว์ปลายทาง
  • เร่งรัดการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอบวม ให้ครอบคลุมสัตว์ในพื้นที่ โดยเฉพาะในกระบือ
  • มาตรการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า 3+1 โดยเน้นที่การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์ เร่งรัดการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคของท้องถิ่น และเน้นย้ำให้มีกระบวนการตัดสินใจระดับพื้นที่ หรือประชาคม ทุกครั้งที่พบการระบาดของโรค เพื่อเป็นการควบคุมพาหะนำโรคได้อย่างยั่งยืน

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline