Legal dld

2563 11 18 01
         
          วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น. นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีการตรวจเนื้อสัตว์” สำหรับนายสัตวแพทย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการผลิตสินค้าปศุสัตว์เพื่อการส่งออก โดยมีนายสัตวแพทย์อภินันท์ คงนุรัตน์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กล่าวให้โอวาท และนายสัตวแพทย์อนุชา มุมอ่อน ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบมาตรฐานด้านการปศุสัตว์ สพส. กล่าวรายงาน พร้อมผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 90 คน แบ่งเป็นผู้เข้าร่วมอบรมผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 50 คน และผู้เข้าร่วมอบรม ณ สถานที่ฝึกอบรม จำนวน 40 คน ซึ่งได้รับการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK) พร้อมกับเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด ในระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤศจิกายน 2564 ณ เดอะไพรเวซี่ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ได้รับการรับรอง SHA) 
          นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การฝึกอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีการตรวจเนื้อสัตว์” สำหรับนายสัตวแพทย์ เป็นหลักสูตรให้ความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สอดคล้องกับนโยบายอาหารปลอดภัยของรัฐบาล สร้างความมั่นใจในกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสินค้าเนื้อสัตว์ของไทย ให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดโลก ส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร และนำรายได้เข้าประเทศตามนโยบายสนับสนุนการส่งออกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          โครงการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สาขาการปศุสัตว์ให้เป็นผู้รู้คิด รู้รอบ สั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ และมีศักยภาพที่พร้อมรับกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแข็งแกร่ง เพื่อก้าวเข้าสู่การยกระดับคุณภาพ การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศและเป็นกลไกหลักในการผลักดันให้กรมปศุสัตว์ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างไร้ขีดจำกัดในเวทีโลก ผ่านการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2561 – 2565 ซึ่งภาคการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ถือเป็นกลไกสำคัญในการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กรและประเทศไทยที่กรมปศุสัตว์ต้องส่งเสริมและผลักดันอย่างต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์สัตว์ต่าง ๆ ถือเป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ไปจนถึงการขยายธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารของผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ซึ่งการส่งออกสินค้าต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน จะต้องมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้าและตามมาตรฐานสากล โดยแต่ละประเทศจะมีการกำหนดมาตรฐานที่สูงและมีการปรับปรุงกฎระเบียบและข้อกำหนดอยู่เสมอ เพื่อปกป้องและรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภคภายในประเทศของตน ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของทิศทางตลาดโลก 
          "การฝึกอบรมในครั้งนี้ มีหัวข้อบรรยายให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรม ได้แก่ หลักการป้องกันอาหารปลอม (Food Frauds) ทางด้านสัตวแพทย์  หลักการป้องกันภัยคุกคามทางอาหาร (Food Defense) ทางด้านสัตวแพทย์  นโยบายและแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบตรวจเนื้อเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์  การเกาะติดสถานการณ์การตรวจประเมินระบบการผลิตสินค้าเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรป  การเรียนรู้กรณีศึกษาแนวทางการตัดสินสัตว์จากการตรวจสัตว์ก่อนฆ่า (Ante mortem inspection)  กรณีศึกษาและแนวทางการตัดสินซาก จากการตรวจซากสัตว์ภายหลังฆ่า (Post mortem inspection)  กฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ  ระบบการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมภายในโรงฆ่าสัตว์เพื่อการส่งออก  และกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม กรณีศึกษาในการใช้เทคนิคการตรวจโรงงาน สำหรับสินค้าปศุสัตว์ใหม่ (Novel food) ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของกรมปศุสัตว์ ที่จะได้รับทราบ ปรับตัว และก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเพื่อให้ประเทศยังสามารถคงสถานการณ์ เป็นผู้ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อันดับต้น ๆ ของโลก และรักษามาตรฐานการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ตามข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานและเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงต่อไป” รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

ภาพ มนัสยา ทัดทอง  /ข่าว วรรณกร ชัยรัตน์ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์  สลก.

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline