Legal dld

2564 12 01a 001
วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 5/2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Cloud Meeting) โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม และผู้เข้าร่วมประชุมจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมศุลกากร กรมหม่อนไหม กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการค้าภายใน สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค มหาวิทยาลัยนเรศวร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นต้น 
 
โดยในที่ประชุมมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรมปศุสัตว์ โดยมีมติรับทราบต่อเรื่องเพื่อทราบ 1 เรื่อง และมีมติเห็นชอบต่อเรื่องเพื่อพิจารณา 6 เรื่อง  ดังนี้
....
>> เรื่องเพื่อทราบ คือ รายงานข้อหารือแนวทางการบังคับใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (GAP)
...
>> เรื่องเพื่อพิจารณา สำหรับร่างกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ... (เดิมเป็นมาตรฐานทั่วไป) โดยการบังคับใช้สำหรับมาตรฐานดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระยะตามขนาดการเลี้ยงหมู ได้แก่ 1) หมูขุนตั้งแต่ 1,500 ตัวขึ้นไปหรือสุกรแม่พันธุ์ตั้งแต่ 120 ตัวขึ้นไป ระยะเวลาปรับเปลี่ยน 90 วันหลังประกาศราชกิจจาฯ และ 2) หมูขุนตั้งแต่ 500-1,499 ตัวหรือสุกรแม่พันธุ์ตั้งแต่ 95-119 ตัว ระยะเวลาปรับเปลี่ยน 180 วัน ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงจำนวนหมูต่ำกว่านั้นลงมายังไม่บังคับ แต่เกษตรกรเองก็สามารถยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP ได้ รวมทั้งไม่ได้บังคับฟาร์มสุกรที่รับรองด้วยมาตรฐาน มกษ. 9000 เรื่อง เกษตรอินทรีย์ หรือฟาร์มสุกรที่ได้รับการรับรองฟาร์มเลี้ยงหมูหลุมจากกรมปศุสัตว์
...
>> เรื่องเพื่อพิจารณาในการยกร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร (ให้เป็นมาตรฐานทั่วไป) จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 
    - การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค เพื่อให้ครอบคลุมสัตว์เพื่อการบริโภคทุกชนิดที่ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้เป็นการเฉพาะสำหรับชนิดสัตว์นั้นๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานระบบการผลิตขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค 
    - หลักปฏิบัติสำหรับการเฝ้าระวังและตรวจติดตามเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในปศุสัตว์ เพื่อให้มีการดำเนินการตาม Global Action Plan on Antimicrobial Resistance และลดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาผ่านทางอาหาร ใช้ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยและแผนการปฏิบัติการระดับโลกได้
    - หลักการด้านสวัสดิภาพ: ระบบการผลิตสุกร เพื่อพิจารณากำหนดมาตรฐาน ให้เป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรในการปฏิบัติแล้วส่งเสริมสวัสดิภาพสุกรในฟาร์ม เพื่อให้ทั้งผู้บริโภคภายในและภายนอกประเทศเกิดความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานการผลิตสุกรของไทยที่คำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์
    - การแสดงฉลากสินค้าเกษตร โดยครอบคลุมการแสดงฉลากสินค้าเกษตรทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร ซึ่งบรรจุในหีบห่อสำหรับผู้บริโภค หรืออยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค โดยไม่ครอบคลุมการแสดงฉลากของสินค้าเกษตรในรูปแบบบัลก์ (Bulk)
...
>> การปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์สำหรับประเทศไทย พ.ศ. ... เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์สำหรับประเทศไทย (Thailand Rapid Alert System for Food and Feed: THRASFF) และระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ของอาเซียน (ASEAN Rapid Alert System for Food and Feed: ARASFF) 
 
ณ ห้องประชุม สพส. ชั้น 3 ตึกวิจิตรพาหนการ กรมปศุสัตว์ พญาไทฯ
ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline