Legal dld

2565 01 27a 001กรมปศุสัตว์ร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการผลิต วุฒิสภา ครั้งที่ 2/2565

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสุรเดช สมิเปรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการผลิต ในคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ cisco webex meeting เพื่อพิจารณาติดตามการผลิต และการตลาดสุกรภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) พร้อมกับนำเสนอข้อมูลมูลค่าวัคซีนสำหรับสัตว์ และมูลค่าวัคซีนนำเข้าภายในประเทศให้กับคณะอนุกรรมาธิการได้รับทราบ ณ ห้องประชุมกองแผนงาน กรมปศุสัตว์ โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ เป็นประธานการประชุม
โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคที่สุกรจะแสดงอาการไข้สูง นอนสุมกัน ร่วมกับท้องเสียเป็นเลือด หรือผิวหนังแดง มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง มีอาการไอ แท้งลูกหรือขาหลังไม่มีแรง สำหรับลักษณะโรคและความร้ายแรงของโรค ASF นั้น ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ไม่มียารักษา เนื่องจากเชื้อคงทนในสิ่งแวดล้อมหลายปี มีโอกาสตายสูงและเป็นพาหะได้ตลอดชีวิต การติดต่อของโรคนั้น มาจากการสัมผัสโดยตรง จากรถขนส่งและอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อ แต่ไม่ติดต่อสู่คน ทั้งนี้ได้มีรายงานการเกิดโรคในสุกรทั่วโลกพบทั้งหมด 4 ทวีป ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวม 41 ประเทศทั้งประเทศไทย ส่วนรายงานการเกิดโรคในทวีปเอเชียพบทั้งหมดมี 16 ประเทศ
สำหรับแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรรายย่อย - เล็ก มีการดำเนินการโดยใช้หลัก 3S คือ Scan พื้นที่ภายใต้มาตรการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดพื้นที่นำร่อง (Pig Sandbox) Screen คน คอก เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีความพร้อม และเหมาะสม และ Support อุดหนุน ช่วยเหลือด้านการจัดการเลี้ยงดู การตลาดและแหล่งทุน โดยให้คำแนะนำ/อบรม ในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อยกระดับและปรับระบบการเลี้ยงเข้าสู่มาตรฐาน GFM/GAP โดยมีการอบรมเกษตรกร สนับสนุน/อุดหนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เช่น พันธุ์สัตว์ราคาถูก (ลูกสุกรขุน/แม่พันธุ์) โดยกรมปศุสัตว์ และเครือข่ายผู้เลี้ยงสุกร สนับสนุนการจัดทำ / ปรับปรุงฟาร์มภายใต้ระบบป้องกันภัยทางชีวภาพของฟาร์มเลี้ยงสุกรสู่ระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management: GFM) โดยต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมนอกจากนี้ หลักเกณฑ์การนำสุกรเข้าเลี้ยงใหม่ ต้องมีองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของฟาร์ม โดยมีรั้วรอบขอบชิด มีระบบทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์ม มีบริเวณขายสุกรนอกบริเวณการเลี้ยง มีคอกกักก่อนรวมฝูง มีระบบการป้องกันสัตว์พาหะอย่างมีประสิทธิภาพในโรงเรือน และที่สำคัญต้องมีการประเมินความเสี่ยงก่อนการอนุญาตให้นำสุกรเข้ามาเลี้ยงฟาร์มที่เคยพบโรคอีกด้วย

ภาพ/ข่าว กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline