Legal dld

19 04 65a 01
 วันอังคารที่ 19 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์  โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมสัมมนา “นักจัดสวัสดิภาพสัตว์ รุ่นที่ 1” โดยมีนายสมเกียรติ  พันธ์ศรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กล่าวรายงาน มีนายสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เข้าร่วมอบรมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom cloud meeting) การอบรมสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านหลักการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 รวมทั้งให้มีความเข้าใจในกระบวนการรับข้อร้องเรียน ทำให้เกิดการบูรณาการการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมม้ากัณฐกะ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์
          รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ กรมปศุสัตว์มีความจำเป็นที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ และเร่งระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา รวมถึงการยกระดับการให้บริการทางด้านสัตวแพทย์ให้ดียิ่งขึ้นไป ซึ่งทั้งปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ นายสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ล้วนเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ โดยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติดังกล่าว และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ความรู้พื้นฐานด้านหลักการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ความรู้ด้านกฎหมาย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการทราบถึงแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนต่าง ๆ หากผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรมปศุสัตว์ ตลอดจนอาจกระทบถึงตัวผู้ปฏิบัติงานเองในแง่ความผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้
           ทั้งนี้ การจัดสวัสดิภาพสัตว์ถือเป็นเรื่องที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือ OIE ให้ความสำคัญ แม้ว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยจะมีแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์แล้วก็ตาม แต่นานาชาติยังคงใช้ปัญหาด้านการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ไม่เหมาะสมมาใช้กีดกันทางการค้า เช่น กรณีลิงเก็บมะพร้าว หรือแม้แต่การใช้งานช้างเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย ยังถูกประเทศแถบยุโรปต่อต้านในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งในแง่การท่องเที่ยวและการค้า ดังนั้นในอนาคตควรที่จะมีการจัดทำยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป โดยกรมปศุสัตว์เองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการจัดการปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือในทุกภาคส่วน
ภาพ ธงชัย สาลี /ข่าว ข่าว วรรณกร ชัยรัตน์ สลก.

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline