Legal dld

2565 08 25a 002 resize 

กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงการแปรรูป ให้ผลผลิตของเกษตรกรสามารถจำหน่ายสู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศได้ สร้างรายได้ที่มั่นคง ตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพบุคลากรกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมฟูราม่าเอ็กซ์คลูซีฟ แซนดารา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
กรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ โดยมุ่งเน้นการนำผลผลิตจากการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่มาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นและพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ตลอดจนส่งเสริมผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนให้สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการของกรมปศุสัตว์ ภายใต้การดำเนินงานของกองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ที่สามารถพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเครือข่ายกรมปศุสัตว์ ให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากผลผลิตปศุสัตว์ที่เลี้ยงในพื้นที่เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถเก็บรักษาได้นาน เหมาะที่จะเป็นสินค้าของฝากประจำจังหวัด 
กรมปศุสัตว์ ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่การพัฒนาสินค้าปศุสัตว์ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่คำนึงถึงวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้อยู่ภายใต้ เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โมเดลเศรษฐกิจ BCG จึงเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่รัฐบาลมุ่งใช้ขับเคลื่อนนำพาประเทศก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 โดยสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการเติบโตโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรของกรมปศุสัตว์ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำเอาโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจกรมปศุสัตว์ได้ 
การดำเนินการที่ผ่านมาได้คัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปทุมธานี เชียงใหม่และ มหาสารคาม ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในพื้นที่ปศุสัตว์ทั้ง 9 เขต จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกษตรกรได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP จากสำนักงานพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาชุมชนแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 9 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สเต็กหมูชัยนาท ไก่ย่างกระวานจันทบุรี หม่ำชัยภูมิ หมูหันแก่งกระเบามุกดาหาร เนื้อสเต๊ะพะเยา เนื้อแดดเดียวอุตรดิตถ์ ไส้อั่วโคขุนเห็ดโคนเมืองกาญ แกงแพะทะเลใต้กระบี่ ไก่สับเบตงพิกุลทองนราธิวาส 
อีกทั้งเกษตรกรทั้ง 9 แห่ง ยังได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดให้กับผู้ผลิตสินค้าชุมชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์รวมไปถึงกระบวนการขนส่งสินค้าให้สามารถเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น และเพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนในปีต่อไปเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 
.........................................
ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว น้องนุช สาสะกุล
ข้อมูล : กองผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ //เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมปศุสัตว์
 

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline