Legal dld

25630916 3

วันที่ 16 กันยายน 2563 เวลา 16.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ประชุมหารือผลดำเนินงานมาตรการควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) เร่งขอคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยจากองค์การสุขภาพสัตว์โลกโดยเร็ว พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ มร.ฮาราลด์ ลิงค์ นายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย รศ.นายสัตวแพทย์ ดร.ปานเทพ รัตนากร พันเอกสมพงษ์ สุขประดิษฐ์ ผู้บัญชาการหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ รองนายกสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย รองเลขาธิการสมาคมกีฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ ผู้แทนจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

สืบเนื่องจากการดำเนินงานตามมาตรการการควบคุม กำจัดและเฝ้าระวังโรค AHS อย่างต่อเนื่อง และการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อกำจัดโรค AHS เพื่อขอคืนสภาพปลอดโรค AHS ของประเทศไทยจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก อย่างต่อเนื่องและเข้มงวด ทำให้ ณ ปัจจุบัน ทำให้ประเทศไทยอยู่ในระยะแรกคือระยะเผชิญเหตุ ซึ่งไม่พบรายงานม้าป่วยม้าตายเพิ่มประมาณ 2 เดือนแล้ว กรมปศุสัตว์ร่วมกับภาคีเครือข่ายรวม 17 หน่วยงาน ได้มีการลงนามใน MOU ร่วมกันในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 เพื่อกำหนดขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน โดยผลการดำเนินงาน ดังนี้

  1. มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายม้า ลา ล่อ และม้าลาย มีการผ่อนปรนในบางพื้นที่ พิจารณาจากปัจจัยและสถานการณ์การเกิดโรค แต่สำหรับม้าลายยังห้ามทำการเคลื่อนย้ายอย่างเข้มงวด
  2. การฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยงได้ดำเนินการแล้ว 9 พันกว่าตัวจากทั้งหมด 11,000 ตัว
  3. การตรวจวิเคราะห์ระดับภูมิคุ้มกันหลังทำวัคซีน พบว่าวัคซีนมีศักยภาพในการป้องกันโรค สามารถกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันได้ จากการตรวจ ELISA พบว่าหลังทำวัคซีน 30 วัน มีระดับภูมิคุ้มกัน 80% ของฝูง หลังทำวัคซีน 45-60 วัน มีระดับภูมิคุ้มกันได้ 100% ของฝูง จึงเป็นสาเหตุให้มีการกักโรคหลังทำวัคซีน 30 วัน เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันโรค โดยในด้านวิชาการควรมีการกระตุ้นภูมิซ้ำที่ 8-11 เดือน โดยให้พิจารณาประเมินถึงความเสี่ยง อุบัติการณ์เกิดโรคและแมลงพาหะ และการทำ sentinel
  4. การเจาะเลือดม้าลายโดยสุ่มตรวจตามหลักวิชาการและทางระบาดวิทยาทั่วประเทศไทย โดยมีมาตรการควบคุมห้ามเคลื่อนย้ายม้าลาย การกำจัดแมลงพาหะ และให้นำม้าลายเข้ามุ้ง ส่วนการทำวัคซีนในม้าลาย ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการ ต้องทำการศึกษาทดลองต่อไป เนื่องจากวัคซีนกำหนดฉีดแค่ในม้าและลา
  5. การสุ่มตรวจริ้นแมลงพาหะ พบว่าไม่พบสารพันธุกรรม AHS ในตัวริ้นพาหะ
  6. การทำ sentinel ในม้า ลา ล่อ เพื่อเป็นการติดตามและเฝ้าระวังโรค

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้มีการรายงานองค์การสุขภาพสัตว์โลกเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง มีผู้ประสานงาน focal point ในการติดต่อประสานงานข้อมูล การชี้แจงสื่อสารข้อมูลต่อสาธารณชนให้รับรู้เข้าใจอย่างถูกต้องในทิศทางเดียวกัน มีการติดตามการดำเนินงานกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายให้ปฎิบัติตาม MOU อย่างต่อเนื่อง และจะกำหนดให้มีการประชุมในคณะอนุกรรมการวิชาการฯ เพื่อพิจารณาหาสาเหตุการเกิดโรคและพิจารณาถึงหลักการใช้วัคซีนในม้าลายต่อไป

ณ ห้องประชุม 1 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์  อ่านรายละเอียด


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline