Legal dld

S 1655099

วันนี้ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ให้การต้อนรับ นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ พร้อมคณะกรรมการสมาคมฯ และคณะทำงานของกรมปศุสัตว์ ร่วมหารือในประเด็นการพัฒนาการเลี้ยงสุกรของประเทศไทยในอนาคต และแนวทางการฟื้นฟูอาชีพผู้เลี้ยงสุกรรายเล็กและรายย่อย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า กรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้หารือร่วมกันถึงแนวทางบูรณาการความร่วมมือในการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางฟื้นฟูอาชีพผู้เลี้ยงสุกรรายเล็กและรายย่อย และการใช้ระบบประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ และรับทราบสภาพปัญหาการผลิตสุกรที่ต้องประสบกับภาวะต้นทุนอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งข้อมูลรายงานความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน ASF ที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างทดสอบ และร่วมรับทราบแนวทางการจัดทำ Sandbox ของกรมปศุสัตว์ รวมถึงการจัดทำคู่มือการกลับเข้ามาเลี้ยงสุกรใหม่ของเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเลี้ยงมากขึ้น

ทั้งนี้ Pig Sandbox จะเป็นเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อนำร่อง ส่งเสริม-ฟื้นฟูการผลิต และควบคุมป้องกันโรคระบาดในสุกร ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย เขตพื้นที่นำร่องและพื้นที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เช่น ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคการเงินการธนาคาร ภาคการขนส่ง ฯลฯ มาตรการทางกฎหมายและการสนับสนุนด้านอื่นๆ โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ กรอบเวลาและงบประมาณ และคณะทำงานขับเคลื่อนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่

สำหรับแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายเล็กและเกษตรกรรายย่อย โดยต้องเป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม มีการดำเนินการโดยใช้หลัก 3S คือ Scan พื้นที่ภายใต้มาตรการประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดพื้นที่นำร่อง (Pig Sandbox) Screen คน คอก เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีความพร้อมและเหมาะสม และ Support อุดหนุน ช่วยเหลือด้านการจัดการเลี้ยงดู การตลาดและแหล่งทุน โดยให้คำแนะนำ อบรม ในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อยกระดับและปรับระบบการเลี้ยงเข้าสู่มาตรฐาน GFM/GAP มีการอบรมเกษตรกร สนับสนุน อุดหนุน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็น เช่น พันธุ์สัตว์ราคาถูก (ลูกสุกรขุน/แม่พันธุ์) โดยกรมปศุสัตว์และเครือข่ายผู้เลี้ยงสุกร สนับสนุนการปรับปรุงฟาร์มภายใต้ระบบป้องกันภัยทางชีวภาพของฟาร์มเลี้ยงสุกรสู่ระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management: GFM)

-----------------------------------------------------

ข้อมูล : กลุ่มเศรษฐกิจการปศุสัตว์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม ช่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline