Legal dld

24 06 65 01
กรมปศุสัตว์จัดการประชุมการรับรองสุขอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์สำหรับส่งออกโคมีชีวิตจากประเทศไทยไปยังสหพันธรัฐมาเลเซีย

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมาย นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานฝ่ายไทยในการประชุม Special Meeting on Importation of Live Cattle for Slaughter from Thailand to Malaysia (การหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขการรับรองสุขอนามัยสำหรับส่งออกโคมีชีวิตเพื่อเข้า โรงฆ่าจากประเทศไทยไปยัง ประเทศมาเลเซีย) โดยมี ดาโต๊ะ ดร.นอร์ลิซาน บิน มูฮัมหมัด นัวร์ (Dato’ Dr.Norlizan Bin Mohd Noor), Director General DVS กรมสัตวแพทย์บริการสหพันธรัฐมาเลเซีย (Department of Veterinary Service: DVS) ประธานฝ่ายมาเลเซีย พร้อมทั้งนายสัตวแพทย์วัชรพล โชติยะปุตตะ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ กรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมม้ากัณฐกะ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ และผ่านระบบการประชุมทางไกล (Google Meet)

ในที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการรับรองสุขอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองสุขภาพสัตว์ สำหรับส่งออกโคมีชีวิตเพื่อเข้าโรงฆ่าสัตว์จากประเทศไทยไปยังสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหน้าที่ในการกำกับควบคุมดูแลการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่การผลิต ให้ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยอาหาร มุ่งประสานความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อการต่อยอดองค์ความรู้ของปศุสัตว์ แสวงหาการรับรองและเป็นที่ยอมรับ ในตลาดใหม่ รวมกับบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งในประเทศ ต่างประเทศ สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎหมายในประเทศ ตามระเบียบของประเทศคู่ค้า และตามหลักสากล ทั้งนี้ข้อกำหนดที่มีการปรับใหม่ให้เหมาะสม ได้แก่ การรับรองโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease: FMD) ว่าสัตว์ที่จะส่งออกต้องเกิดและอยู่ในพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยก่อนการส่งออกไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือไม่มีรายงานการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย ภายในรัศมี 10 กิโลเมตรจากสถานที่เลี้ยงในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนเคลื่อนย้าย หรือสัตว์ต้องได้รับการทดสอบโรคปากและเปื่อยให้ผลเป็นลบก่อนทำการการส่งออก 7 วัน สำหรับการรับรองโรคแท้งติดต่อ โรควัณโรค โรคพาราทูเบอร์คูโลซีส และโรคฉี่หนู (Brucellosis, Tuberculosis, Johne's disease and Leptospirosis) ไม่ต้องมีการตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการ แต่ให้การรับรองรวมกัน ว่าสัตว์ต้องมาจากพื้นที่ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยกรมปศุสัตว์ และปลอดจากการแสดงอาการของโรคแท้งติดต่อ โรควัณโรค โรคพาราทูเบอร์คูโลซีส และโรคฉี่หนู เป็นเวลา 6 เดือนจนถึงวันส่งออก ในส่วนของการรับรองการตรวจหาสารเร่งเนื้อแดงได้ทำการตัดข้อความดังกล่าวออก เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายการห้ามใช้สารดังกล่าวอยู่แล้ว

นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมครั้งนี้เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงเงื่อนไขการนำเข้าโคมีชีวิตเพื่อเข้าโรงฆ่าสัตว์จากไทยไปยังมาเลเซียให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และความร่วมมืออื่นๆในอนาคตระหว่างไทย-มาเลเซีย

ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข่าวสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.dld.go.th หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ภาพ ธงชัย สาลี /ข่าว วรรณกร ชัยรัตน์ สลก. ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline