Legal dld

DSC 5134

วันที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่สร้างขวัญกำลังใจพร้อมตรวจติดตามงานตามนโยบายกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยนางสาวเยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม ผู้แทนผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ติดตามเข้าร่วมการประชุม โดยมีนายสัตวแพทย์สมพร พรวิเศษศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดแพร่ กล่าวต้อนรับ นายสัตวแพทย์ศราวุธ เขียวศรี ผู้แทนปศุสัตว์เขต 5 กล่าวรายงาน ปศุสัตว์จังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 เข้าร่วมประชุม


อธิบดีกรมปศุสัตว์เน้นย้ำการขับเคลื่อนงานด้านปศุสัตว์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ดังนี้
1) นโยบายด้านสุขภาพสัตว์ เน้นเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันโรคที่สำคัญเช่น การควบคุมและป้องกันโรค เข้มงวดในการกักสัตว์และเคลื่อนย้าย เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โรคไข้หวัดนก (AI) การควบคุมโรคสัตว์เคี้ยวเอื้อง อาทิเช่นโรคลัมปีสกิน โรคปากและเท้าเปื่อย/โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย เป็นต้น โดยทุกโรคเน้นเชิงรุก สอบสวนโรค คุมสถานการณ์และการระบาดให้รวดเร็ว ตามหลัก "รู้เร็ว สงบเร็ว" และการสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานในพื้นที่
2) นโยบายด้านการผลิตสัตว์ มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และปรับใช้ตามสภาพพื้นที่ เน้นการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตามศักยภาพในพื้นที่ การผลิตพันธุ์สัตว์ การผลิตอาหารสัตว์
3) นโยบายด้านมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โครงการปศุสัตว์ OKอธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยอาหาร เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค เกษตรกรมั่นคง ภาคเกษตรมั่งคั่ง และทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยอาหารที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค กำชับให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคส่งเสริมและขยายผลในด้านการพัฒนาภารกิจด้านคุณภาพมาตรฐานการผลิตสินค้าปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง
4) นโยบายด้านส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ การลดต้นทุนการผลิตปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าการเกษตร โครงการแปลงใหญ่ และโครงการพระราชดำริ
5) การจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์และการช่วยเหลือภัยพิบัติให้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือให้ทันถ่วงที่รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติน้อยที่สุด
6) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รายสินค้าปศุสัตว์เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาปศุสัตว์ของเกษตรกรในเกิดการพัฒนาการผลิตปศุสัตว์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับและเพื่อให้การ ขับเคลื่อนการพัฒนางานด้านการปศุสัตว์ของประเทศสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเกิด ประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างสูงสุด
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการปฏิบัติงาน เน้นเชิงรุก ยึดสุจริตและโปร่งใสเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาลด้านงบประมาณให้ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และด้านบุคลากร ให้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพของตนเองเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป และที่สำคัญที่สุดขอให้ทุกคนรู้รักสามัคคี ทั้งนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมรับฟังปัญหา/อุปสรรค ของการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อนำปัญหาดังกล่าวไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงชี้แนะหลักการในการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรและสำเร็จตามเป้าหมายการดำเนินงานต่อไป
อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะยังได้ลงพื้นที่ดูงานที่เลิศสิริฟาร์มแพะจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อตรวจเยี่ยมฟาร์มแพะเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ พร้อมให้คำแนะนำการทำวัคซีน การควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์อธิบดีกรมปศุสัตว์มีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงแพะ ซึ่งเป็นทางเลือกอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะใช้พื้นที่เลี้ยงไม่มากก็สามารถเลี้ยงแพะได้ เนื่องจากสามารถปล่อยให้หากินพืชอาหารในธรรมชาติทั้งไม้พุ่ม กระถิน และหญ้าได้
การเลี้ยงแพะกำลังได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการปลูกพืชแล้ว การเลี้ยงสัตว์ยังเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม ปัจจุบันประเทศไทยนอกจากจะเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคภายในประเทศแล้วยังสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยแพะถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กรมปศุสัตว์ได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงเช่นเดียวกับสัตว์อื่น การผลิตแพะยังสามารถขยายตัวได้อีกมากเพราะนอกจากจะเลี้ยงแพะเพื่อการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมีแนวโน้มที่สามารถจะส่งแพะไปจำหน่ายยังประเทศข้างเคียงได้อีกด้วย
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้มอบปัจจัยการผลิตอาทิเช่น หญ้าแพงโกลาแห้งเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการสำรองเสบียงอาหารสัตว์ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินรวมถึงวิตามิน แร่ธาตุ และยาถ่ายพยาธิเพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของสัตว์ ต่อไป
ณ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ภาพ ธงชัย สาลี สลก. /ข่าว คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline