S 19005492

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการะบาดที่รุนแรงขึ้น กรมปศุสัตว์ได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมิให้เข้ามาในประเทศไทย แต่อาจยังอาจมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่าง “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร “(African swine fever,ASF)และ”โรคอหิวาต์สุกร “(Classical swine fever) ซึ่งทั้งสองโรคได้ถูกกำหนดให้เป็นโรคตามพระราชบัญญัติสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘ หากพบโรคเกิดขึ้นในฟาร์มหรือพื้นที่ใดต้องดำเนินการตามมาตรการที่ถูกกำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘ นั้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่มีความใกล้เคียงกันของทั้งสองโรค คือมีอาการทางคลินิกที่คล้ายกัน ได้แก่ มีไข้สูง ตายเฉียบพลัน มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง แท้งหรือท้องเสีย ในกรณีโรคอหิวาต์แอฟริกามักพบอาการถ่ายเป็นเลือด ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันภายนอกได้ต้องมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น นอกจากนี้วิธีการติดต่อของโรคก็มีความใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นติดจากสิ่งคัดหลั่งที่มาจากสุกรป่วยหรือจากสุกรที่หายป่วยจากโรคแล้ว การปนเปื้อนของเชื้อที่วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในฟาร์มรวมทั้งคนด้วย แต่สิ่งที่ทำให้ทั้งสองโรคมีความแตกต่างกัน คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคที่เกิดจาก DNA virus ต่างจากโรคอหิวาต์สุกร ซึ่งเป็น RNA virus ซึ่งธรรมชาติของ DNA virus จะมีความคงทนในสิ่งแวดล้อมสูงมาก ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำลายเชื้อโรคหากพบการติดเชื้อในฟาร์มแล้วและเนื่องจากเชื้อนี้ซึ่งเป็น DNA virus มีขนาดใหญ่ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตวัคซีนเพื่อการป้องกันโรคได้ทำให้เมื่อสัตว์ติดเชื้อแล้วมีอัตราการตายที่สูง นอกจากนี้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังสามารถติดต่อจากเห็บอ่อน (Ornithodoros spp.) ซึ่งไม่พบในประเทศไทย จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าโรคทั้งสองมีความเหมือนและความแตกต่างกันในประเด็นสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรเกิดความตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร กรมปศุสัตว์จึงขอสรุปเป็นประเด็นความรุนแรงของโรค 4 ประเด็นเพื่อให้เกิดความรับรู้ที่ชัดเจนคือ ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีนในการใช้ป้องกันโรค สุกรที่ติดเชื้อจะมีอัตราการตายสูงและเชื้อมีความคงทนในสิ่งแวดล้อมสูง

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ห้ามนำอาหารเหลือมาให้สุกรกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ ถ่ายเป็นเลือด พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป./

-----------------------------------------

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

รายละเอียดเพิ่มเติม


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline