25611027 1

เร่งรัดฉีดวัคซีนสุนัข-แมวรอบจุดเกิดโรค 100% X-Ray พื้นที่ เฝ้าระวังเชิงรุกพื้นที่จุดเกิดโรคอย่างน้อย 6 เดือน พบสัตว์สงสัย ป่วย ตาย ส่งตรวจทุกตัวทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง เร่งรัดทำหมันควบคุมประชากรสุนัขแมวที่ไม่มีเจ้าของหรือด้อยโอกาส หยุดเพิ่มจำนวน-หยุดเพิ่มความเสี่ยง เร่งรัดประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก-ขจัดความไม่รู้ความเข้าใจผิดของประชาชนชน ปลูกจิตสำนึก “เลี้ยง ต้องรับผิดชอบ” จับมือกับท้องถิ่น สาธารณสุข รณรงค์ฉีดวัคซีนพร้อมกันทั้งประเทศสร้างภูมิคุ้มกันระดับฝูง 4 เดือน (มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม-มิถุนายน)เป้าหมายอย่างน้อย 80%ของยอดสุนัข-แมว จับมือกับท้องถิ่น สาธารณสุข ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพด้านความรู้และทักษะที่ถูกต้องให้กับอาสาสมัครผู้ฉีดวัคซีน เพิ่มคุณภาพการนำวัคซีนเข้าสู่ตัวสัตว์ พัฒนาวัคซีน ตามมาตรฐานสากล ศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนภายในประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงป้องกันปัญหาวัคซีนขาดแคลน

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนงานด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าเชิงคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าหมายจะต้องไม่พบโรคในสัตว์โดยถือเอาชีวิตมนุษย์เป็นที่ตั้ง จึงได้กำหนดให้ทุกพื้นที่เร่งรัดงานในทุกด้าน โดยในช่วง ไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ บูรณาการกับทางท้องถิ่นและสาธารณสุขพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพอาสาสมัครเพื่อทำหน้าที่สำคัญในการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการเกิดภูมิคุ้มกันในตัวสัตว์ โดยอาสาสมัครเหล่านี้ จะต้องผ่านการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ จะต้องได้รับใบประกาศผู้ผ่านการฝึกอบรม และที่สำคัญจะต้องได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์ตาม พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 อาสาสมัครทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่ฉีดวัคซีนในช่วงรณรงค์ 4 เดือน ตั้งแต่ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม พร้อมกันทั่วประเทศ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่สำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว รวมทั้งจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดโดยให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรสัตว์ที่สำรวจได้ และความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนจะต้อง ไม่น้อยกว่า 80% ของยอดสัตว์ ซึ่งการฉีดวัคซีนทั้งหมดเป็นการให้บริการจากภาครัฐโดยไม่คิดมูลค่า ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ตระหนักถึงความมั่นคงของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ในประเทศไทยทั้งด้านปริมาณและคุณภาพจึงได้มีการพัฒนาคุณลักษะเฉพาะของวัคซีนให้ตรงตามมาตรฐานสากลและอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีนภายในประเทศเพื่อป้องกันปัญหาวัคซีนขาดแลน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์กำหนดให้เดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งมหามงคล จะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 และศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โดยจะเน้นกิจกรรมฉีดวัคซีน ผ่าตัดทำหมัน รักษาพยาบาลสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่า และให้ความรู้แก่ประชาชนตลอดทั้งเดือน

ในส่วนของมาตรการเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งปี จะเป็นการเร่งรัดควบคุมโรคในพื้นที่เกิดโรค โดยปัจจุบัน (ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2561) พบจุดเกิดโรคที่ยังคงประกาศเป็นเขตโรคระบาดสัตว์เพียง 26 จุด ในพื้นที่ 18 จังหวัด พื้นที่จุดเกิดโรคเหล่านี้ กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้มีการเร่งรัดฉีดวัคซีนสุนัข-แมวรอบจุดเกิดโรค 100% ทำการ X-Ray พื้นที่เฝ้าระวังเชิงรุกพื้นที่จุดเกิดโรคต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หากพบสัตว์แสดงอาการสงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือพบว่าป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุจะต้องเก็บตัวอย่างส่งตรวจทุกตัว ซึ่งจะทราบผลตรวจภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ กิจกรรมที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ประกอบด้วยการเร่งรัดทำหมันควบคุมประชากรสุนัขแมวที่ไม่มีเจ้าของหรือด้อยโอกาส เพื่อหยุดเพิ่มจำนวนซึ่งจะช่วยหยุดเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่โรคพิษสุนัขบ้า อีกทั้งการเร่งรัดประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนัก ขจัดความไม่รู้ความเข้าใจผิดของประชาชนชน และปลูกจิตสำนึก “เลี้ยงต้องรับผิดชอบ” ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวดไปแล้ว

สุดท้ายนี้กรมปศุสัตว์ ขอให้ประชาชนประสานขอรับบริการตามกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้บ้าน อีกทั้งขอความร่วมมือประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์ให้เฝ้าระวัง หากพบสุนัข แมวตายหรือมีอาการสงสัยป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ หรือแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์ได้ทันท่วงที รวมทั้งเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ หากท่านให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคอย่างเคร่งครัด สัตว์ของท่านก็จะปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

******************************************************

ที่มาของข้อมูล : ข่าวปศุสัตว์

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์     ข่าว : เพ็ญศิริ ดวงอุดม นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline