S 21708843

กรมปศุสัตว์วางมาตรการเข้มงวดป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สามารถตรวจยึดไส้กรอกปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ เชื้อฯ จากนักท่องเที่ยวชาวจีน และเร่งซ้อมแผนรับมือ หากพบสุกรป่วยตายผิดปกติแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน แม้ไม่ติดต่อ สู่คนแต่ก่อความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ถึงผลการตรวจยืนยันด้วยวิธี Realtime-PCR และ Sequencing พบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตรวจยึดน้ำหนักประมาณ 800 กรัม จากนักท่องเที่ยว ที่เดินทางจากเมืองเฉินตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยสายการบินเสฉวนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 3U8287 และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดในสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรค เป็นการควบคุมป้องกันโรคมิให้เข้ามาระบาดภายในประเทศ

สำหรับการตรวจพบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อดังกล่าวในผลิตภัณฑ์จากสุกรที่นักท่องเที่ยวนำติดตัวมา ประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในเอเชียต่อจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่สามารถตรวจพบภัยคุกคามดังกล่าวได้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในวันนี้ (26 พฤศจิกายน 2561) กรมปศุสัตว์ได้จัดการซ้อมแผนการรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตามแผนที่ได้จัดทำขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานนับตั้งแต่ระดับอำเภอจนถึงสำนักงานปศุสัตว์เขตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้ง ภาคเอกชนได้สนับสนุนงบประมาณในการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคเข้าประเทศที่ด่านกักกันสัตว์ต่างๆในพื้นที่เสี่ยง ในส่วนของภาคราชการเองได้กำหนดมาตรการที่เข้มงวดหลายมาตรการ อาทิเช่น การชะลอการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกรที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรค การเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการและเครือข่ายในการตรวจวินิจฉัยให้มีความถูกต้องและรวดเร็ว การเข้มงวดตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยวที่อาจมีการลักลอบนำผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยง เข้ามาในประเทศไทยซึ่งมีผลการตรวจยึดได้เป็นจำนวนมาก การเข้มงวดตรวจจับและหาข่าวการลักลอบนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์ผ่านเข้ามาทางชายแดนประเทศเพื่อนบ้านโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยความมั่นคงต่างๆ รวมทั้งเร่งสร้าง ความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรผ่านรูปแบบการประชุมและการซ้อมแผนในภูมิภาคต่างๆโดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง

ทั้งนี้ นอกจากจะมีการกำหนดมาตรการหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนแล้ว กรมปศุสัตว์มีความจำเป็นต้องยกระดับและให้ความสำคัญต่อโรคดังกล่าว พร้อมผลักดันผ่านรัฐบาลให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อบูรณาความร่วมมือและทรัพยากร รวมทั้งงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆในการควบคุม ป้องกันโรคมิให้เข้ามายังประเทศไทยได้ เนื่องจาก โรคดังกล่าวนี้ไม่ติดต่อสู่คนแต่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางด้านอาหาร

อธิบดีกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2561 องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ในประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 16 ประเทศ จำแนกเป็นทวีปยุโรป 11 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และล่าสุดที่ทวีปเอเชีย 1 ประเทศคือสาธารณรัฐประชาชนจีนที่พบการระบาดในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันโรคมิให้เข้ามาระบาดภายในประเทศจากการเคลื่อนย้ายสัตว์-ซากสัตว์ภายในภูมิภาค และเชื้อปนเปื้อนมากับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค กรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดมาตรการ การตรวจสอบที่เข้มงวดในสินค้าและนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรค อีกทั้งรัฐบาลไทยโดย กรมปศุสัตว์ร่วมกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรพร้อมทั้งองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีความตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของไทยหากเกิดการระบาดโรคในประเทศไทย จึงได้บูรณาการความร่วมมือในการจัดทำแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพื่อให้การจัดทำแผนมีความคลอบคุม ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการดำเนินงานที่เข้มงวดของกรมปศุสัตว์ในการป้องกันโรคมิให้เข้ามาสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทย รวมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกร ให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช้เศษอาหารที่มาสุกรนำมาเลี้ยงสุกร หรือนำผลิตภัณฑ์ที่มาจากสุกรเข้าฟาร์ม โดยเด็ดขาดรายย่อยที่มีจำเป็นต้องใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกรให้ต้มให้สุกก่อน ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งดำเนินการ ให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

******************************************

ข้อมูล/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline