25620217 1

อธิบดีกรมปศุสัตว์แจ้งเตือนทั่วประเทศยกระดับการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แม้ไม่ติดต่อสู่คนแต่สุกรที่ติดเชื้อมีอัตราป่วย-ตายสูง เชื้อทนทานในสภาพแวดล้อมกำจัดได้ยาก ไม่มีวัคซีนป้องกันและยาในการรักษา ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวม

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากการรายงานของของคณะกรรมการเกษตรไต้หวัน (Council of Agriculture: COA) ว่ามีการตรวจพบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในผลิตภัณฑ์จากสุกรที่นำเข้ามาจากประเทศเวียดนามเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 แม้ว่ายังไม่มีการรายงานพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเวียดนาม อย่างไรก็ตามจากการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของ Mr. Phung Duc Tien รองปลัดกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของประเทศเวียดนามได้เปิดเผยว่าปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรบริเวณชายแดนระหว่างจีนและเวียดนามทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างรุนแรงในประเทศเวียดนาม ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์- ซากสัตว์ภายในภูมิภาคอาเซียน และเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกรปนเปื้อนมากับคนและอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อการบริโภค จึงได้แจ้งเตือนให้จังหวัดตามแนวชายแดนที่มีความเสี่ยงสูงประกาศเป็นเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เพื่อยกระดับการเฝ้าระวังในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร อีกทั้งได้มีการประชุมศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (war room) ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเพื่อเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สำหรับความก้าวหน้าของการยกระดับมาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันควบคุมโรคให้เป็นวาระแห่งชาติได้รับความเห็นชอบจากนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันจากรายงานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) พบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเกิดการระบาดใน 16 ประเทศ แบ่งเป็นทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ ทวีปยุโรป 10 ประเทศและทวีปเอเชีย 2 ประเทศ คือประเทศจีนและมองโกเลีย (ยังไม่นับรวมเวียดนาม) สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการระบาดของโรคดังกล่าวนี้ พร้อมทั้งได้ขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพและสมาคมต่างๆ รวมทั้งพี่น้องเกษตรกรที่ได้มีส่วนร่วมและร่วมแรงร่วมใจกันในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพทำให้ประเทศไทยไม่มีการระบาดของโรคดังกล่าวในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม ใคร่ขอความร่วมมือในกรณีผู้ที่เดินทางไปศึกษาดูงานหรือไปทำงานในฟาร์มสุกรในประเทศที่เกิดการระบาดและมีความเสี่ยงสูงที่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เมื่อเดินทางกลับขอให้งดเข้าฟาร์มเลี้ยงสุกรไม่น้อยกว่า 5 วัน พร้อมทั้งให้ปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเคร่งครัดและผู้ประกอบการร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงอาหาร สถานประกอบเลี้ยง ให้งดจำหน่าย จ่าย แจกเศษอาหารเหลือจากการรับประทานให้ผู้ที่นำไปเลี้ยงสุกรเพื่อป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าว

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอให้เกษตรกรอย่าได้ตระหนก และขอให้มั่นใจในการดำเนินงานที่เข้มงวดของปศุสัตว์ในการป้องกันโรคไม่ให้เข้ามาสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศไทย รวมทั้งขอย้ำให้เกษตรกรยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์มตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม และงดเว้นการนำอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 30 นาทีมาเลี้ยงสุกร นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์  ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline