pic01

กรมปศุสัตว์แนะนำเกษตรกรดูแลสุขภาพสัตว์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจัดเตรียมน้ำ อาหารสัตว์ ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ในช่วงหน้าแล้ง

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจ้งว่า เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง โดยมีแนวโน้มที่สภาพอากาศจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิอาจสูงถึง 43 องศาเซลเซียส และมีลมกรรโชกแรงในบางพื้นที่ อีกทั้งในช่วงหน้าแล้ง และอากาศร้อนจัดอาจเกิดการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ หรืออาหารสัตว์มีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์ซูบผอมจากการขาดแคลนอาหาร เกิดสภาวะความเครียดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อม (Heat Stress) อาจจะเกิดภาวะเป็นลมแดด (Heat Stroke) สุขภาพสัตว์อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง ทำให้สัตว์ป่วย และติดเชื้อโรคได้ง่าย

การดูแลสุขภาพสัตว์ในสภาวะอากาศร้อนจัดจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเน้นที่การจัดการโรงเรือน จัดหาคอกสัตว์ที่บังแดดได้ในเวลากลางวัน หรือเลี้ยงสัตว์ใกล้ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์กลางแจ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง นอกจากนี้สามารถลดความเครียดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อม (heat stress) โดยใช้ความเย็นจากละอองน้ำในช่วงกลางวัน หรือติดตั้งพัดลมในโรงเรือน เพื่อให้อากาศหมุนเวียน ถ่ายเทได้สะดวก และควรมีน้ำให้สัตว์กินอย่างเพียงพอตลอดทั้งวัน และไม่ควรตั้งน้ำไว้ในที่แสงแดดส่องถึง เนื่องจากจะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น รวมถึงเสริมวิตามินให้สัตว์เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และป้องกันการขาดสารอาหาร

ส่วนของการสร้างภูมิคุ้มกันให้สัตว์ สัตว์ต้องได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ด้วยการให้วัคซีนตามโปรแกรมที่กำหนด เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซพติกซีเมีย หรือโรคคอบวม โรคนิวคลาสเซิลและหลอดลมอักเสบติดเชื้อในสัตว์ปีก เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญในปศุสัตว์ของประเทศไทย พร้อมทั้งให้สัตว์ได้รับการกำจัดพยาธิทั้งภายในและภายนอก

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ความสำคัญกับการดูแลปศุสัตว์ของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง และที่สำคัญต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าและออกจากบริเวณฟาร์ม และโรงเรือน เลือกซื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และกักสัตว์ก่อนนำเข้ารวมฝูง หมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตน หรือใกล้เคียง หากพบเห็นสัตว์ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ต้องรีบแจ้งปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อให้การช่วยเหลือ และตรวจสอบโดยเร็ว และลดความเสียหายจากโรคระบาด หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อหน่วยงานดังกล่าว หรือสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือ call center 063-225-6888 หรือแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา

************************************

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline