S 1401270

วันที่28 มิถุนายน 2562 เวลา 15.00 น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต พร้อมคณะผู้บริหารกรมปศุสัตว์ชี้แจงประเด็น เรื่องสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรปัจจุบันยังไม่พบโรคในประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีภารกิจหลักในการดูแลเรื่องสุขภาพสัตว์และผลผลิตด้านปศุสัตว์ของประเทศไทย เพื่อให้ได้ผลผลิตด้านการปศุสัตว์ที่เพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการในการส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันโรค ASF ในสุกร เพื่อป้องกันการระบาดเข้าสู่ประเทศไทย

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรควรดำเนินการเพื่อการป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ดังนี้

  1. ใช้อาหารสัตว์จากแหล่งที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้
  2. อาหารสำหรับพนักงานหรือคนเลี้ยงสุกรต้องใช้เนื้อจากแหล่งที่ไม่เสี่ยงมาทำอาหารในฟาร์ม
  3. ต้องมีรั้วรอบฟาร์มและโปรแกรมการกำจัดสัตว์พาหะ
  4. บุคคลที่จะเข้าฟาร์มต้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์ม
  5. จัดให้มีตู้ UV เพื่อฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก่อนนำเข้าฟาร์ม
  6. ยานพาหนะทุกคันต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
  7. จัดให้มีเล้าขายหมูอยู่นอกบริเวณที่มีการเลี้ยงสุกร
  8. มีเล้ากักหมูทดแทนอยู่นอกฟาร์มก่อนย้ายเข้าฝูง
  9. น้ำสำหรับใช้ในฟาร์มให้ใช้น้ำบาดาลและมีระบบบำบัดน้ำด้วยคลอรีนก่อนนำไปใช้
  10. มีบ่อทิ้งซากหรือระบบย่อยสลายซาก

- ลักษณะอาการแสดงของโรค ดังนี้ ตายเฉียบพลัน มีไข้สูง นอนสุมกัน ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง มีอาการทางระบบอื่น เช่น ทางเดินหายใน ทางเดินอาหาร การแท้งในทุกช่วงอายุของการตั้งท้อง

- ถ้าเกษตรกรพบสุกรมีอาการของโรค แจ้ง

  1. ​สำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอทั่วประเทศ
  2. ​สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  3. ​สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-255-6888
  4. ​application DLD 4.0

หน่วยงานที่ร่วมประสานความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบ ด้วย

  1. ทหาร ตำรวจ หน่วยงานปกครอง ร่วมเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์
  2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเฝ้าระวังในหมูป่า
  3. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ร่วมเฝ้าระวังที่ท่าอากาศยานต่างๆ
  4. กรมศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ร่วมเฝ้าระวังการลักลอบนำผลิตภัณฑ์เข้ามาในประเทศไทย
  5. กระทรวงสาธารณสุข ร่วมเฝ้าระวังโดยใช้เครือข่าย อสม.
  6. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมในการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงมาตรการของประเทศไทย
  7. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ร่วมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่สมาชิก รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างโรงพ่นยาทำลายเชื้อโรคบริเวณชายแดน
  8. สถาบันการศึกษา ร่วมในการเป็นเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรค
  9. ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการผลิตสุกร ร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร
  10. องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ร่วมในการจัดสัมมนา

ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านภาคการผลิตด้านปศุสัตว์ของไทยให้ได้ผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกรและเป็นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ให้ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยได้ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง NBT

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline