pic01
เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever, ASF) ปัจจุบันพบการระบาดทั้งหมด 29 ประเทศ แบ่งเป็น ทวีปแอฟริกา 5 ประเทศ ทวีปยุโรป 13 ประเทศ และทวีปเอเชีย 11 ประเทศ ได้แก่ มองโกเลีย เวียดนาม กัมพูชา เกาหลีเหนือ สปป.ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ติมอร์-เลสเต และอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโรคดังกล่าว เนื่องจากมีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และแนวเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกา ซึ่งบูรณาการทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร โดยรัฐบาลยกระดับแผนดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดตั้ง War Room ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค มีการซ้อมรับมือทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการในการตรวจวินิจฉัย อีกทั้งร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ OIE , FAO จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลการเฝ้าระวัง

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ มีมาตรการในการป้องกัน คือ การประกาศระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรจากประเทศที่มีการระบาดของโรค และบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำสุกร ผลิตภัณฑ์สุกรเข้ามาในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเฝ้าระวังในการจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ X-Ray เคาะประตูบ้าน เฝ้าระวังทางอาการ ขึ้นทะเบียนและประเมินความเสี่ยงด้วยแอพลิเคชั่น E-SmartPlus พร้อมให้คำแนะนำความรู้เรื่องโรคและการป้องกัน

กรมปศุสัตว์ ได้มีการของบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน (เร่งด่วน) เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร อาทิ ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายเพื่อลดความเสี่ยงเกิดโรคในพื้นที่เสี่ยงสูง รถกำจัดซากสัตว์ติดเชื้อเพื่อควบคุมโรคระบาด และเครื่องตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมในสภาพจริงแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบ โดยจะมีการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณการบริโภคในปี 2561 จำนวน 498,031 ตัว มีความต้องการในตลาด 647,440 ตัว แบ่งเป็น การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทั้งการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังจะมีการช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนอาชีพไปเลี้ยงโคเนื้อ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง และการปลูกพืชอาหารสัตว์ 2 ไร่ เป็นต้นด้วย

"อยากขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในการยกระดับมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าว เช่น การตรวจสอบและตรวจยึดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกรที่นักท่องเที่ยวนำติดตัวมา การจัดการเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในโรงแรมและสถานประกอบการร้านอาหาร และการกำหนดมาตรการควบคุม กำกับดูแลแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์สุกรที่จำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น หากทุกภาคส่วนมีความร่วมมือกัน เชื่อว่าจะสามารถควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศไทยได้"นายเฉลิมชัย กล่าว

ที่มาของข้อมูล :  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline