pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้มีมติเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 เห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรฉบับทบทวน (Good Agricultural Practices : GAP) เป็นมาตรฐานบังคับ โดยมีขอบข่ายการบังคับใช้แบ่งเป็น 2 ระยะ ตามขนาดการเลี้ยงสุกร ดังนี้  

  1. สุกรขุน ตั้งแต่ 1,500 ตัวขึ้นไป หรือ สุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 120 ตัวขึ้นไป ระยะเวลาปรับเปลี่ยน 90 วัน หลังประกาศราชกิจจาฯ
  2. สุกรขุน ตั้งแต่ 500 – 1,499 ตัว หรือ สุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 - 119 ตัว ระยะเวลาปรับเปลี่ยน 180 วัน หลังประกาศราชกิจจาฯ

โดยขั้นตอนต่อไปสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จะมีการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งเกษตรกรฟาร์มสุกรที่อยู่ในเกณฑ์บังคับดังกล่าว และประชาชนทั่วไปโดยประกาศให้ทราบโดยทั่วกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน และให้เวลาแจ้งความคิดเห็นคัดค้าน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน จากนั้นนำผลการแสดงความคิดเห็นนั้นเสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อประกอบการพิจารณามาตรฐานบังคับต่อไป ซึ่งหากเกษตรกรมีข้อคิดเห็นให้ติดตามข่าวและรีบแจ้งได้

ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรฟาร์มสุกรมาโดยลำดับ ซึ่งขณะนี้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานเดียวที่ให้บริการรับรองมาตรฐานฟาร์มสุกร GAP โดยไม่มีค่าใช้จ่ายมาตั้งแต่ปี 2542 จนล่าสุดฉบับปรับปรุงปี 2558 ซึ่งเป็นฉบับก่อนมาตรฐานบังคับนี้ โดยมียอดการรับรอง GAP ทุกขนาดฟาร์ม ณ เมษายน 2564 รวมจำนวน 4,768 ฟาร์ม ซึ่งในจำนวนนี้มี 4,531 ฟาร์มที่จะเข้าเกณฑ์มาตรฐานบังคับ นับเป็นร้อยละ 61.9 จากจำนวนฟาร์มสุกรทั้งหมดที่จะต้องเข้าสู่มาตรฐานบังคับรวม 7,314 ฟาร์ม สำหรับมาตรฐานบังคับ หากฟาร์มสุกรที่ได้รับรอง GAP อยู่ก่อนแล้วจะไม่กระทบเพราะไม่ต่างจากเดิมมากนัก หากแต่อีก 2,783 ฟาร์มที่ยังไม่ได้รับการรับรอง GAP หากมีผลบังคับใช้จะเกิดปัญหาตามมาได้ เนื่องจากมีผลบังคับตามกฎหมาย พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญที่ฟาร์มสุกรต้องทำตาม ดังนี้

  1. ตามมาตราที่ 20 ต้องขอใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ โดยเมื่อมีการประกาศบังคับใช้มาตรฐานในราชกิจจานุเบกษา และประกาศจาก มกอช. สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ มกอช. หรือหน่วยงานรัฐที่ มกอช. มอบหมายหรือผ่านทางระบบออนไลน์ที่ http://tas.acfs.go.th/nsw/ เมื่อบังคับใช้หากฝ่าฝืนไม่มีใบอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
  2. ตามมาตราที่ 27 ต้องขอรับการตรวจสอบและได้ใบรับรองตามมาตรฐานบังคับสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งสามารถยื่นขอรับรอง GAP ได้ฟรีกับกรมปศุสัตว์ทันทีโดยไม่ต้องรอประกาศมาตรฐานฉบับใหม่ เมื่อมีการบังคับใช้หากฝ่าฝืนยังไม่ได้รับรอง GAP ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

กรมปศุสัตว์จึงขอเชิญชวนให้เกษตรกรฟาร์มสุกรที่มีสุกรขุนตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป หรือมีสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 ตัวขึ้นไปได้เตรียมความพร้อมการเข้าสู่ GAP ไว้ ซึ่งสามารถขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทั้งระดับอำเภอ จังหวัด หรือเขต โดยกรมปศุสัตว์ให้บริการฟรีตั้งแต่การอบรมให้ความรู้ GAP แก่เกษตรกร หรือการตรวจรับรอง GAP ให้แก่ฟาร์มท่านฟรี ซึ่งการทำตามหลักมาตรฐาน GAP 7 ข้อ คือ องค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม บุคลากร สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ สิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่ให้ผลดีในยุค New normal นี้ เพราะช่วยให้มีระบบการป้องกันโรคที่เข้มแข็งขึ้นรับมือกับภาวะโรคระบาดสำคัญๆ ที่อาจมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น โรคอหิวาห์แอฟริกันสุกร (ASF) ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อฟาร์มหากเกิดปัญหาขึ้น การจัดการที่ดีขึ้นของ GAP ยังช่วยแก้ปัญหาเข็มคงค้างหรือลดอัตราการเกิดฝีหนองลง รวมทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การร้องเรียนจากชุมชน อีกทั้งการอยู่ในระบบ GAP ยังได้รับสิทธิพิเศษจากกรมปศุสัตว์ในการบริการเฝ้าระวังโรค การเคลื่อนย้ายสุกร การทำฟาร์มปลอดโรค FMD การลดค่าใช้จ่ายในการตรวจห้องแลป ทั้งยังยกระดับทางการตลาดในประเทศได้กับโครงการ “ปศุสัตว์ OK” หรือเนื้อสุกรอนามัย Q และการต่อยอดการส่งออกทั้งสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์สุกรไปยังต่างประเทศ การทำ GAP จึงเป็นผลดีต่อฟาร์มสุกรของท่านทั้งสิ้น เกษตรกรที่สนใจ ขอรับรอง GAP ได้ฟรีที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือจังหวัดที่ตั้งฟาร์มของท่าน หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์เขตหรือสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โทร 02-653-4444 ต่อ 3158

--------------------------------------------------------------------

ข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (5 พฤษภาคม 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline