pic00

ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประภัตร โพธสุธน ห่วงใยพี่น้องเกษตรกร กำชับให้กรมปศุสัตว์ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ในโค กระบืออย่างเคร่งครัด พร้อมเร่งหาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในเบื้องต้น และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเน้นย้ำขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุดโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เป็นประธานการประชุมหารือสถานการณ์ และการควบคุมโรคลัมปี สกิน ในโคกระบือ โดยสั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานควบคุมโรคท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของเชื้อ Covid-19 และเน้นย้ำการสื่อสารทำความเข้าใจแก่เกษตรกรในเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค รวมถึงการใช้วัคซีนภายในฟาร์มเนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และอาการของโรคที่ดูรุนแรงอาจทำให้เกษตรกรมีความตื่นตระหนก และกังวลใจ จึงต้องเร่งสื่อสารทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันพบการรายงานการเกิดโรคแล้ว 35 จังหวัด สัตว์ป่วยจำนวน 6,763 ตัว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ และกรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตรการควบคุมโรคดังนี้

  1. ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ เป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค กรณีมีความจำเป็นให้ปฏิบัติตามตามแนวทางการเคลื่อนย้ายที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเคร่งครัด
  2. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว ควบคุมได้ทัน โรคสงบได้อย่างรวดเร็ว
  3. ป้องกัน และควบคุมแมลงพาหะนำโรค เนื่องจากเป็นโรคที่มีแมลงเป็นพาหะนำโรค จึงขอให้เกษตรกรป้องกันโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์ และบริเวณโดยรอบฟาร์ม ทั้งในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและในพื้นที่เสี่ยง
  4. รักษาสัตว์ป่วยตามอาการ เพื่อลดความสูญเสียแก่เกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่มียาที่ใช้ในการรักษาโดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องรักษาตามอาการโดยแบ่งการรักษาเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 สัตว์ป่วยแสดงอาการมีไข้ให้ดำเนินการให้ยาลดไข้ ระยะที่ 2 เริ่มแสดงอาการตุ่มบนผิวหนัง ให้ยาลดการอักเสบ ระยะที่ 3 ตุ่มบนผิวหนังมีการแตก หลุดลอก ให้ยารักษาแผลที่ผิวหนังร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ระยะที่ 4 แผลที่ผิวหนังตกสะเก็ด ใช้ยารักษาแผลภายนอกจนกว่าจะหายดี
  5. การใช้วัคซีนควบคุมโรค เนื่องจากโรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงยังไม่เคยมีการใช้วัคซีนในสัตว์สำหรับควบคุมและป้องกันโรคในประเทศมาก่อน ซึ่งการใช้วัคซีนมีความจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง และติดตามผลหลังการใช้อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการนำเข้าวัคซีนเพื่อใช้ควบคุมโรคในพื้นที่เกิดโรค โดยที่ lot แรกที่จะนำเข้ามาจำนวน 60,000 โด๊ส ซึ่งการนำเข้าวัคซีนจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อยืนยันความปลอดภัยของวัคซีนที่จะใช้ในสัตว์ และขอเน้นย้ำว่าการใช้วัคซีนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้โรคสงบได้ ต้องดำเนินการตามมาตรการทั้งหมดที่กล่าวมา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะด่านกักกันสัตว์ทุกแห่งให้เป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะการลักลอบเคลื่อนย้ายจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นการนำโรคเข้ามาเพิ่มในประเทศไทย และการลักลอบเคลื่อนย้ายภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้โรคแพร่กระจาย และขอความร่วมมือเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคเพื่อลดการแพร่กระจาย และลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น หากพบสัตว์ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่านำไปจำหน่าย ให้รีบแจ้งปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อให้การช่วยเหลือและตรวจสอบโดยเร็ว และกรณีท่านยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นหรือมีข้อสงสัยสามารถติดต่อหน่วยงานดังกล่าว หรือติดต่อสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนแจ้งโรคระบาดกรมปศุสัตว์ call center 063-225-6888 หรือแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” ได้ตลอดเวลา และสามารถติดตามสถานการณ์การระบาดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคลัมปี สกิน ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือที่ https://sites.google.com/view/dldlsd/home

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline