pic02

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึง กรณีที่มีสื่อรายงาน พบพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานชำแหละไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น กรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่กำกับดูแลด้าน ความปลอดภัยอาหาร โดยเฉพาะสินค้าปศุสัตว์ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น โดยกรมปศุสัตว์ ได้มีมาตรการป้องกันโรคโควิดในโรงงาน และตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยอาหารอย่างเข้มงวด โดยมุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านพนักงาน หรือผู้ที่ต้องสัมผัสอาหาร จะมีการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองและต้องผ่านการตรวจโรคโควิด-19 ก่อนเข้าปฏิบัติงาน 2) ด้านสถานที่ผลิต ให้รักษาความสะอาดเรียบร้อยตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิต (GMP) โดยมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิตด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในไลน์การผลิต 3) มาตรการที่สามเกี่ยวกับสินค้า ให้ตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยอาหารอย่างเข้มงวด ที่สำคัญมีการเก็บตัวอย่างตรวจ การปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสินค้า อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม จุดสัมผัสและจุดเสี่ยงในอาคารผลิต เพื่อประกันการปลอดเชื้อ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำโรงงานดำเนินการร่วมกับโรงงานทำการสอบสวนและสั่งกักตัวพนักงานรายอื่น ที่มีความใกล้ชิดกับพนักงานผู้ติดเชื้อ และกำกับดูแลให้โรงงานทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในทุกพื้นที่ของโรงงานอย่างทั่วถึง รวมถึงกำชับให้บุคลากรของโรงงานปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ระงับการการผลิตชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคแล้ว โดยหน่วยงานทางสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงจะทำการประเมินสถานการณ์ในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่โรงงานก่อนพิจารณาให้กลับมาทำการผลิตอีกครั้ง สำหรับสินค้าที่ถูกผลิตในช่วงเวลาที่พบ ผู้ติดเชื้อ เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าเพื่อตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไวรัส COVID-19 ทุกวันผลิต หากพบสินค้าที่มีความเสี่ยงหรือปนเปื้อนเชื้อไวรัส COVID-19 กรมปศุสัตว์จะไม่อนุญาตให้จำหน่ายหรือส่งออกเนื้อไก่ดิบ ดังนั้น จึงขอให้มั่นใจว่าเนื้อไก่มีความปลอดภัยไม่ปนเปื้อนเชื้อ COVID-19 อย่างแน่นอน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในสินค้าปศุสัตว์และลดความวิตกกังวลของประชาชนในการบริโภคเนื้อไก่ว่าอาจะติดเชื้อโควิดจากการบริโภคเนื้อไก่ได้นั้น ขอให้ข้อมูลว่าองค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), และหน่วยงานด้านอาหารทางสหภาพยุโรป (EFSA) และสหรัฐอเมริกา (USFDA) ต่างยืนยันว่าอาหารไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 และในกรณีที่เนื้อสัตว์ปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 จากผู้ป่วยก็มีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะนำให้ประชาชนรับประทานเนื้อสัตว์ปรุงสุก เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 ถูกทำลายได้ด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที และถ้าความร้อนสูงขึ้นระยะเวลาก็จะสั้นลง และถ้าต้มให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เชื้อโควิด-19 ทั้งหมดจะถูกทำลายทันที โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้แนะนำให้เลือกเนื้อสัตว์จากสถานที่จำหน่ายที่สะอาด โดยต้องมีใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือให้สังเกตตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK”

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ กลุ่มตรวจสอบมาตรฐานด้านการปศุสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.) กรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-653-4444 ต่อ 3134

…………………………………………………………………..

ข่าวและข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ (20 กรกฎาคม 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline