pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระแสสังคมในปัจจุบันกำลังให้ความใส่ใจกับสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ภาคการเลี้ยงสุกรปฏิบัติต่อสุกรอย่างมีมนุษยธรรม รวมทั้งความตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยาที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมของภาคส่วนต่างๆ ซึ่งเชื้อดื้อยานี้ถือเป็นภัยคุกคามที่ต้องเฝ้าระวังระดับโลก ส่งผลให้การผลิตสุกรในประเทศไทยต้องมีการปรับตัวให้เหมาะสมตามบริบทสังคมยุคนี้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและสนับสนุนเกษตรกรฟาร์มสุกร ได้ประสานองค์ความรู้และความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ช่วยให้ฟาร์มสุกรพัฒนารูปแบบการเลี้ยงจากเดิมสู่การทำฟาร์มเชิงปราณีตให้มากขึ้นในทุกมิติ ทั้งการปรับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันโรคสุกรต่างๆ เข้าสู่ฟาร์ม ดังจะเห็นจากความสำเร็จในการป้องกันโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทย ทำให้สุกรจากไทยยังผลิตและส่งออกไปบางประเทศได้ แต่การป้องกันและควบคุมโรคเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์สังคมในปัจจุบัน ต้องมีการพัฒนาการจัดการสวัสดิภาพสุกรให้ดีขึ้น รวมทั้งการควบคุมและลดการใช้ยาปฎิชีวนะในฟาร์มให้เหมาะสม ถือเป็นประเด็นสำคัญที่กรมปศุสัตว์เร่งผลักดันมาตรฐานและมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับให้ฟาร์มสุกรมีการพัฒนาจากเดิม ดังนี้

  • 1.การยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ของฟาร์มสุกร
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ในการทำฟาร์มปศุสัตว์ทุกชนิด ในส่วนของการผลิตสุกรได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ดำเนินการจัดตั้งกรรมการวิชาการที่มาจากกรมปศุสัตว์ สถาบันการศึกษาและภาคเกษตรกร เพื่อยกร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการด้านสวัสดิภาพสัตว์ : ระบบการผลิตสุกร ซึ่งนำต้นแบบตามมาตรฐานสากลขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation for Animal Health ; OIE) มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งภายใต้หลักการนี้เน้นให้ฟาร์มมีการจัดการให้สุกรได้รับการดูแลที่ดีตามหลักอิสระ 5 ประการ โดยสามารถประเมินความเหมาะสมได้โดยการประเมินผลลัพธ์ของการจัดการ (outcome-base measurable) ผ่านตัวชี้วัดด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare indicators) ซึ่งขณะนี้มาตรฐานนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำเพื่อประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นมาตรฐานที่ให้ฟาร์มสุกรได้ศึกษาและปรับรูปแบบการเลี้ยงให้สอดคล้องตามหลักการสากลต่อไป อีกทั้งจะถูกใช้เป็นแนวทางประกอบการตรวจประเมินมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร หรือ GAP ฟาร์มสุกรซึ่งถูกปรับปรุงขึ้นใหม่จากมาตรฐานฉบับเดิมซึ่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยฉบับเดิมเป็นมาตรฐานทั่วไป ภาคสมัครใจ แต่สำหรับฉบับที่กำลังปรับปรุงนั้นจะถูกยกระดับเป็นมาตรฐานบังคับสำหรับฟาร์มสุกรที่มีสุกรขุนตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป หรือมีแม่พันธุ์สุกรตั้งแต่ 95 ตัวขึ้นไป ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาก่อนประกาศบังคับใช้ เมื่อมีการบังคับใช้คาดว่าจะมีการยกระดับสวัสดิภาพสุกรในฟาร์มที่บังคับทั่วประเทศ เพราะเป็นหัวข้อที่สำคัญประเด็นหนึ่งที่ต้องตรวจรับรอง GAP
  • 2. การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาตามหลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One health approach) เพื่อสู่สมดุลสุขภาพ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  • กรมปศุสัตว์ได้ตระหนักถึงภัยร้ายของเชื้อดื้อยา โดยได้ขับเคลื่อนร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามแผนระดับชาติ คือ “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564” ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 โดยให้ภาคปศุสัตว์ควบคุมการใช้ “ยาปฏิชีวนะ”อย่างสมเหตุผลคือให้มีการใช้ยาเท่าที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อรักษาสุขภาพของสัตว์ที่เจ็บป่วย ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) และยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการผลิตปศุสัตว์ให้เพียงพอต่อการบริโภค รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ภายใต้การกำกับดูแลของสัตวแพทย์ที่ดูแลสุขภาพของสัตว์ในฟาร์มเหล่านั้น กรมปศุสัตว์จึงมีมาตรการควบคุมการใช้ยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาปฏิชีวนะ โดยมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated feed) โดยการจะผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาได้ โรงงานนั้นจะต้องได้รับการรับรอง GMP และต้องมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมระบบการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาซึ่งได้รับการอบรมจากกรมปศุสัตว์ จึงจะสามารถจดแจ้งเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาได้ ทั้งนี้ การจะผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาต้องผลิตภายใต้ใบสั่งใช้ยา (Prescription) ของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ปี 2562 มีรายงานผ่านระบบ ICT ของกรมปศุสัตว์ พบว่ามีการผสมยาปฏิชีวนะลงในอาหารสัตว์ ณ โรงงานอาหารสัตว์ที่ผสมยาเพียง 1.8% ของสัดส่วนการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมด การใช้ยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9032-2552 ซึ่งเป็นข้อกำหนดหนึ่งของฟาร์ม GAP โดยควบคุมการใช้ยาให้ถูกต้อง ตรงตามฉลากยาที่ระบุไว้ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาจาก อย. และมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ได้แก่ การลดใช้ยาปฏิชีวนะ การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ (Raised without Antibiotics: RWA) รวมทั้งส่งเสริมการใช้สมุนไพร และโพรไบโอติกส์ ส่งผลให้ภาคการเลี้ยงสัตว์ที่มีเป้าประสงค์หลักตามแผนชาติให้ลดการใช้ยาในสัตว์ลด30% ภายในปี 2564 ซึ่งพบว่าข้อมูลปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ ปี 2562 เทียบกับปี 2560 มีการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลดลงถึง 49% ควบคู่ไปกับระบบการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาของกรมปศุสัตว์เพื่อทราบสถานะของเชื้อดื้อยา เพื่อลดและชะลอการดื้อยาที่เป็นภัยคุกคามทั้งในคนและสัตว์ต่อไป ทั้งนี้ รวมไปถึงการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมโดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักด้านนี้คือ กรมควบคุมมลพิษ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งประเทศไทยได้มีกรอบการทำงานร่วมกันในการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาที่สอดคล้องกับแนวทางขององค์การระหว่างประเทศ ทั้ง Tripartite (FAO/OIE/WHO) และ UNEP นำไปสู่การขยายผลจัดทำร่างแผนชาติเชื้อดื้อยาในอีก 5 ปี (ปี 2566-2570) อีกทั้งในทุกปีของเดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนได้ร่วมรณรงค์สัปดาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก (World Antibiotic Awareness Week :WAAW) ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 18-24 พฤศจิกายน 2564 กรมปศุสัตว์เชื่อมั่นว่าการดำเนินการภายใต้ความเข้าใจในปัญหาของเชื้อดื้อยา ความตระหนักรู้ของการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การบังคับใช้มาตรฐาน GAP ฟาร์มสุกรที่ควบคุมการใช้ยาโดยสัตวแพทย์ รวมถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาและเกิดความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมการผลิตสุกรภายใต้หลักความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) และหลักการสุขภาพหนึ่งเดียว (One health approach) ต่อไป


ข่าวและข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.) และกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ (อยส.) กรมปศุสัตว์ (3 ตุลาคม 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline