pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและสนับสนุนการผลิตปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงเนื้อสัตว์สู่ผู้บริโภค ในส่วนของการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบันได้มีการผลักดันการเลี้ยงสัตว์เชิงอุตสาหกรรมให้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงแบบเดิมที่มีการสนใจในด้านการผลิตจนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของสัตว์ ต้องถูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามธรรมชาติไป เช่น การขังกรงแคบๆ ไปสู่การทำฟาร์มเชิงปราณีตที่ใส่ใจในทุกมิติทั้งระบบความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อป้องกันโรคต่างๆเข้าสู่ฟาร์มดังจะเห็นจากความสำเร็จของระบบคอมพาร์ทเมนต์ในอุสาหกรรมสัตว์ปีกไทยที่ทำให้ไทยปลอดไข้หวัดนกมาอย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทำให้สุกรจากไทยยังผลิตและส่งออกไปต่างประเทศได้ หรือการควบคุมโรคลัมปีสกินในฟาร์มโค กระบือ แต่การป้องกันและควบคุมโรคเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์สังคมในปัจจุบันต้องมีการพัฒนาการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ให้ดีขึ้นรวมทั้งการควบคุมและลดการใช้ยาปฎิชีวนะในฟาร์มให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพคน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบการเลี้ยงสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยกร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องหลักการด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ได้นำไปใช้ปรับปรุงการเลี้ยงสัตว์ให้มีสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ซึ่งมีการอ้างอิงสอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามหลักอิสระ 5 ประการ ประกอบด้วย

  1. สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง (Freedom from hungry and thirsty)
  2. มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from discomfort)
  3. มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค (Freedom from pain, injury and disease) โดยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี หรือ การใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสม พื้นที่การเลี้ยงที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสัตว์
  4. มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress) ด้วยสภาวะการเลี้ยงดูที่ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจ
  5. มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal behavior) คือมีอิสระการเป็นอยู่อย่างธรรมชาติ และมีความสบายตามชนิดของสัตว์นั้นๆ

 

นอกจากด้านสวัสดิภาพสัตว์แล้วกรมปศุสัตว์ยังได้ตระหนักถึงปัญหาของเชื้อดื้อยาจากฟาร์มปศุสัตว์ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ได้มีนโยบายให้ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างสมเหตุผลคือให้มีการใช้ยาเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาปฏิชีวนะ โดยมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมอาหารสัตว์ที่ผสมยา โดยการจะผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาได้ ต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีในโรงงาน (GMP) และต้องมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมระบบการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาซึ่งได้รับการอบรมจากกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ การจะผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยาต้องผลิตภายใต้ใบสั่งใช้ยาของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การใช้ยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9032-2552 ซึ่งเป็นข้อกำหนดหนึ่งของฟาร์มที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยควบคุมการใช้ยาให้ถูกต้อง ตรงตามฉลากยาที่ระบุไว้ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ได้แก่ การลดใช้ยาปฏิชีวนะ การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ (Raised without Antibiotics: RWA) รวมทั้งส่งเสริมการใช้สมุนไพร และโพรไบโอติกส์ ส่งผลให้ภาคการเลี้ยงสัตว์ที่มีเป้าประสงค์หลักตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการเชื้อดื้อยายาต้านจุลชีพประเทศไทย 2560-2564 ให้ลดการใช้ยาในสัตว์ลด 30% ภายในปี 2564 ทั้งนี้รวมไปถึงการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมโดยกรมปศุสัตว์ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักด้านนี้คือ กรมควบคุมมลพิษ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำไปสู่การขยายผลจัดทำร่างแผนชาติเชื้อดื้อยาในอีก 5 ปี (ปี 2566-2570) จากนโยบายเหล่านี้ ทั้งด้านสวัสดิภาพสัตว์และการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และภาคเอกชน ร่วมกันผลักดันให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล มีการห่วงใยใส่ใจสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ คำนึงถึงความปลอดภัยของเนื้อสัตว์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรม ปศุสัตว์กล่าวในที่สุด

**********************************

ข้อมูล/ข่าว : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.) และกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ (อยส.) กรมปศุสัตว์  

เผยแพร่ : สำนักงานเลขานุการกรม ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline