Sidebar

 

1166379

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากกรณีมีเพจใน Facebook มีการกล่าวว่า มีการฉีดสารอะนาโบลิก สเตียรอยด์ (สารสังเคราะห์จากฮอร์โมน) ยาปฏิชีวนะ และฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตในไก่ ส่งผลทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง และมีการแชร์คลิปการฉีดยาในไก่ทางสื่อโซเชียลต่อๆ กันโดยอ้างว่าเป็นการฉีดฮอร์โมนเร่งโตนั้น กรมปศุสัตว์ขอเรียนว่าเป็นข่าวลวง ไม่มีข้อมูลความจริง ได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงจากกรมปศุสัตว์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ หลายครั้งแล้ว ผู้บริโภคบางกลุ่มยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและติดภาพเก่าๆ กันอยู่ คลิปที่เห็นนั้นไม่ได้เกิดในประเทศไทย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงในปัจจุบันการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยเป็นระบบอุตสาหกรรม ไม่มีการใช้ฮอร์โมนและการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างผิดวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในการเลี้ยงไก่แล้ว จากการเลี้ยงไก่ในปัจจุบันมีการพัฒนาด้านคุณภาพมาตรฐานระบบการเลี้ยงและปรับปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยให้ไก่เติบโตได้ดีและมีสุขภาพแข็งแรง ประกอบด้วย การนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้เป็นสายพันธุ์ที่โตเร็วมีความทนทานต่อโรค การมีระบบการป้องกันโรคที่ดี การเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่ทันสมัย มีการจัดทำฟาร์มมาตรฐาน GAP รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตอาหารที่มีสารอาหารเหมาะสมกับช่วงวัยของการเติบโตและความต้องการของไก่ สามารถคำนวณและผสมอาหารสำเร็จรูปให้ได้สารอาหารตรงตามความต้องการของสายพันธุ์ ทำให้ไก่มีสุขภาพดีและเจริญเติบโตได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องเสริมสารเร่งโตและใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ในฟาร์มมาตรฐาน GAP ทุกฟาร์มต้องมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มในการควบคุมกำกับดูแลในการตรวจสอบทั้งด้านสุขภาพสัตว์ ควบคุมการใช้ยา สารเคมีและการจัดการด้านอื่นๆ ในฟาร์มด้วย ทำให้มั่นใจยืนยันได้ว่าไม่มีการใช้ฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะอย่างผิดวัตถุประสงค์และไม่สมเหตุสมผล เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในการเลี้ยงไก่ไทยแน่นอน 100%

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหาร กำหนดว่าการใช้ฮอร์โมนในไก่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และห้ามการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตในการเลี้ยงสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 417/2528 ลงวันที่ 23 ก.ย.2529 ให้เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสำหรับสัตว์ Hexoestrol ของฮอร์โมนที่ใช้ในสัตว์ปีก หากมีการลักลอบใช้ถือว่าผิดกฎหมาย และหากนับจากวันที่ประกาศจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นระยะเวลาเกือบ 35 ปีแล้วที่มีการใช้กฎหมายนี้ โดยผิดทั้งต่อกฎหมายของประเทศไทยและขัดต่อข้อบังคับของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของประเทศไทย ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ติดอันดับ TOP 5 ของโลกต่อเนื่อง มีประเทศผู้นำเข้าหลักคือ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป เนื่องจากความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าต่อสินค้าปศุสัตว์ของไทยที่มีความปลอดภัยได้คุณภาพมาตรฐานสากลและระดับโลก ปลอดจากสารตกค้าง ไม่มีการใช้ฮอร์โมนในการเร่งโต และไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลและผิดวัตถุประสงค์ในการเลี้ยง ทำให้สินค้าไก่จากไทยเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก โดยปัจจุบันปี 64 ล่าสุดเฉพาะสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์มีปริมาณการส่งออกแล้วรวม 746,969 ตัน คิดเป็นมูลค่า 83,920.62 ล้านบาท (ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป 432,952 ตัน มูลค่า 58,345.08 ล้านบาท และเนื้อไก่แช่เย็น/แช่แข็ง 314,017 ตัน มูลค่า 25,575.54 ล้านบาท)

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) ตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์ม โรงฆ่า โรงแปรรูป และสถานที่จำหน่ายตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง จึงขอให้ผู้บริโภคมั่นใจและขอยืนยันว่าการเลี้ยงไก่ไทยไม่มีการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง ไม่สมเหตุสมผลและผิดวัตถุประสงค์แน่นอน ขอให้ทุกคนมั่นใจอย่าเชื่อข้อมูลเท็จและขอให้พิจารณาข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ว่าเป็นความจริงหรือไม่ และขอฝากให้ผู้บริโภคควรเลือกแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ว่าผ่านการตรวจสอบจากระบบมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยดูจากตราสัญลักษณ์ต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์และสถานที่จำหน่าย โดยให้สังเกตสถานที่จำหน่ายที่มีตราสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" ก่อนเลือกซื้อ เนื่องจากมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์มาจากฟาร์มมาตรฐาน GAP ผลิตจากโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน สถานที่จำหน่ายถูกสุขอนามัย และสามารถทำการตรวจสอบย้อนกลับได้

ข้อมูลเพิ่มเติม: สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โทร 026534444 ต่อ 3155, 3132 หรือ http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/ | ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline
By visiting our website you agree that we are using cookies to ensure you to get the best experience.Accept allDecline allCustomize
Cookies options