Sidebar

 

pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงมาตรการควบคุม ป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทยที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องว่า กรมปศุสัตว์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุกรทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยมีหน้าที่หลัก ได้แก่ การกำหนดแนวทางการวิจัยสำหรับการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จัดหาแหล่งเงินทุนงานวิจัย พร้อมทั้งส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนางานวิจัยสำหรับการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายแรกของคณะกรรมการชุดนี้ที่จะดำเนินการ คือ การผลักดันการวิจัยโดยเฉพาะการเร่งวิจัยวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการซึ่งจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระดับ Animal BSL3 เพื่อใช้สำหรับทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนที่ผลิตขึ้น และจากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการพัฒนาวัคซีนให้สามารถนำมาใช้ได้จริงในอุตสาหกรรมการผลิตสุกรในอนาคตทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าในวงเงินงบประมาณ 1,779,831,862.48 บาท ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้เป็นการเตรียมความพร้อมของกรมปศุสัตว์สำหรับในการดำเนินการควบคุม ป้องกันโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรทุกมิติให้มีประสิทธิภาพ เป็นการรักษามูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 150,000,000,000 บาท อีกทั้งป้องกันการขาดแคลนเนื้อสุกรเพื่อการบริโภค อันเป็นการรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ

อธิบดีกรมปศุสัตว์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงรอยต่อของฤดูฝนและฤดูหนาว สภาพอากาศหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศมีความหนาวเย็น แต่ในขณะเดียวกันหลายพื้นที่กลับประสบสภาวะน้ำท่วม ส่งผลให้สุกรเกิดความเครียดระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับหากเป็นฟาร์มของเกษตรรายย่อยซึ่งระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสุกร (Biosecurity) ยังไม่ได้มาตรฐานจะทำให้สุกรที่เลี้ยงมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นในฟาร์ม โดยเฉพาะที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่นและมีประวัติการระบาดของโรคมาก่อน กรมปศุสัตว์จึงขอแนะนำให้เกษตรกรปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ควรทำการกักแยกสุกรที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่เพื่อสังเกตอาการก่อนปล่อยเข้าร่วมฝูง ทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพ เข้มงวดการทำลายเชื้อโรคในน้ำที่ใช้ในฟาร์มก่อนนำไปใช้เลี้ยงสุกร ยานพาหนะที่เข้า - ออกฟาร์มจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ไม่นำสุกรที่ไม่ทราบประวัติเข้าสู่ฟาร์มโดยเฉพาะจากพื้นที่ที่เคยมีการระบาดโรคต่างๆมาก่อน เป็นต้น รวมทั้ง ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรเพิ่มเติมในการเป็นเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคระบาดในสุกรเพื่อสามารถควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในวงจำกัด และขอให้ติดตามข่าวสารการแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิดจากกรมปศุสัตว์ หากพบสุกรที่สงสัยว่าป่วยหรือตายด้วยโรคระบาด หรือด้วยอาการผิดปกติไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ทันที หรือผ่านทางแอพพลิเคชั่นมือถือ “DLD 4.0” หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 063-225-6888 เพื่อเข้าทำการตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการบริโภคเนื้อสุกรขอให้เลือกซื้อเนื้อสุกรที่มาจากแหล่งผลิตและผู้จำหน่ายที่ได้รับสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” และต้องนำมาปรุงสุกทุกครั้งก่อนการบริโภคเพื่อสุขอนามัยที่ดีและขอให้ประชาชนมั่นใจในความปลอดภัยจากการบริโภคเนื้อสุกร ไม่ต้องตื่นตระหนกกับข่าวสารที่มีข้อมูลไม่แน่ชัด หากพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หรือประชาชนทั่วไปต้องการทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภาคปศุสัตว์หรือข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สามารถติดตามผ่าน Mobile Application  “DLD 4.0” ได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในท้ายที่สุด

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ข้อมูล : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสุกร สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline
By visiting our website you agree that we are using cookies to ensure you to get the best experience.Accept allDecline allCustomize
Cookies options