pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงประชาชนจากกรณีที่มีข่าวปรากฏว่ามีผู้ซื้อตับสุกรจากห้างแห่งหนึ่งนำมาปรุงให้สุนัขทานแล้วเกิดอาการป่วยรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษา ทำให้ตั้งข้อสงสัยว่าในสุกรเกิดโรคระบาดรุนแรงที่สามารถติดต่อมายังสัตว์อื่นหรือคนผ่านทางการบริโภคหรือไม่

“กรมปศุสัตว์ขอแจ้งว่าแม้สถานการณ์การผลิตสุกรในปัจจุบันจะผลิตสุกรได้น้อยกว่าความต้องการของตลาดเนื่องจากหลายปัจจัย แต่เรื่องความปลอดภัยของเนื้อหรืออวัยวะสุกรกรมปศุสัตว์ยังคงให้ความสำคัญมาโดยตลอดและขอยืนยันว่าไม่มีโรคระบาดรุนแรงในสุกรที่ติดต่อผ่านการบริโภคเนื้อหรืออวัยวะ กรมปศุสัตว์เน้นการกำกับดูแลการผลิตสุกรที่มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ ทั้งการเข้มงวดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเพื่อป้องกันโรคระบาดต่างๆ โดยโรคระบาดสุกรที่มีการพบในช่วงนี้ ได้แก่ โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine reproductive and respiratory syndrome : PRRS) โรคอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever : CSF) รวมทั้งโรคที่ปรากฏในประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) ซึ่งขอยืนยันด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าโรคเหล่านี้เกิดเฉพาะในสุกรหรือสุกรป่าเท่านั้น ไม่มีการติดต่อไปยังคนหรือสัตว์ชนิดอื่นหรือแม้แต่ปนเปื้อนโรคดังกล่าวในเนื้อสุกร อีกทั้งเชื้อโรคส่วนใหญ่หากนำเนื้อสุกรหรืออวัยวะสุกรมาปรุงสุกด้วยความร้อนที่เหมาะสม เช่น ที่อุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาทีสามารถทำลายเชื้อโรคเหล่านี้ได้ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย

จากกรณีข่าวดังกล่าวอ้างว่าสุนัขเกิดอาการป่วยรุนแรง อาเจียน ถ่ายท้อง และค่าตับสูงขึ้นมาก เนื่องจากกินตับสุกรที่ซื้อมา ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าสัตว์เลี้ยงหรือผู้บริโภคตับหรือเนื้อสุกรจากแหล่งเดียวกันรายอื่นๆมีอาการป่วยแบบเดียวกันหรือเชื่อมโยงถึงกัน จึงตั้งข้อสังเกตว่ากรณีดังกล่าวอาจเป็นปัญหาสุขภาพเฉพาะรายไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคตับสุกร อย่างไรก็ตาม ควรส่งตัวอย่างอาหารหรือตับสุกรดังกล่าวส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงต่อไปว่าเกิดจากประเด็นใด

กรมปศุสัตว์ขอเรียนว่าในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลการผลิตอาหารปลอดภัยได้ดำเนินโครงการรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าสถานที่จำหน่ายนั้น จำหน่ายเนื้อสัตว์จากแหล่งผลิตมาตรฐานและสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของเนื้อสัตว์ได้ ในกรณีนี้เช่นกันหากตับสุกรดังกล่าวมาจากที่จำหน่าย “ปศุสัตว์ OK” เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์สามารถตรวจสอบย้อนกลับและดำเนินการติดตามหาสาเหตุของปัญหานี้ได้หากมีการแจ้งมายังกรมปศุสัตว์

ท้ายนี้ขอเตือนไปยังพี่น้องประชาชนทุกคน การบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด ต้องเน้นการทำสดใหม่และเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสม ปรุงให้สุกย่างทั่วถึงทุกครั้ง แนะนำว่าหากมีแผลที่มือควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเนื้อสัตว์หรือเลือดสัตว์โดยตรงเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากเชื้อที่อาจปนเปื้อนจากแผลที่มือเข้าสู่เนื้สุกรหรือจากเนื้อสุกรเข้าสู่แผล”อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

ข่าวและข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ (31 ธันวาคม 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline