S 1785973

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ระบุว่าจากจังหวัดชัยภูมิพบการแพร่ระบาดโรคลัมปี สกินในหลายพื้นที่ รวมกว่า 10 อำเภอ โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบโคป่วยร่วมกว่า 357 ตัว และล่าสุดมีโคป่วยตายถึง 65 ตัว ทำสถิติสูงสุดในประเทศไทย ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดชัยภูมิต้องระดมกำลังเร่งออกพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและยากำจัดแมลงในฟาร์มโครวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่สัตว์กลุ่มเสี่ยงรอบจุดที่พบโรคในรัศมี 5 กิโลเมตร นั้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคลัมปี สกินของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม 2565 จนปัจจุบัน พบสัตว์ป่วยใหม่เพียง 2,002 ตัว ซึ่งสัตว์ป่วยนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน และไม่ได้มีการแพร่กระจายในวงกว้าง ซึ่งหากเปรียบเทียบจำนวนสัตว์ป่วยรายเดือนของปี 2565 เทียบกับปี 2564 พบว่ามีจำนวนลดลงมากถึงร้อยละ 116.7 โดยในปี 2564 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศจำนวน 39,278 ตัว แต่ในปี 2565 ค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศจำนวน 334 ตัว โดยที่ผ่านมาตั้งแต่การระบาดของโรคลัมปี สกินในปี 2564 กรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรค

กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างการของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรจากงบกลางจำนวน 203,107,702 บาท พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันให้ความช่วยเหลือเกษตรกรโดยใช้งบประมาณทดลองราชการแล้ว 52,389 ราย โค-กระบือ 58,089 ตัว วงเงิน 1,221,823,020 บาท อยู่ระหว่างการช่วยเหลืออีก 1,596 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.82 ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ได้อยู่ระหว่างการของบประมาณเพิ่มเติมจากงบกลางเพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรในบางพื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 203,107,702 บาท

โดยในปี 2565 ที่พบรายงานสัตว์ป่วยนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เจ้าของสัตว์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินให้แก่ลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ สัตว์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และสัตว์ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วนานกว่า 1 ปี โดยการตรวจสอบข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) พบว่าในปัจจุบันมีบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนการนำเข้าวัคซีนโรคลัมปี สกินแล้ว คือ บริษัทอินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด ดังนั้นหากเจ้าของสัตว์มีความต้องการวัคซีนเพื่อป้องกันโรคสามารถประสานงานกับบริษัทได้โดยตรง ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินในลูกสัตว์เกิดใหม่หากแม่ของลูกสัตว์ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนสามารถฉีดในลูกสัตว์ได้ทันทีี แต่กรณีแม่มีประวัติป่วย หรือมีประวัติได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงก่อนการตั้งท้อง สามารถฉีดในลูกสัตว์ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้เน้นย้ำมาตรการการดำเนินการการควบคุมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคและได้สั่งการให้ทุกพื้นที่ เร่งรัดดำเนินการควบคุม ป้องกัน และกำจัดโรค ดังต่อไปนี้

  1. รณรงค์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและยากำจัดแมลงในฟาร์มโค กระบือ จุดที่พบโรคและรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค ตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นต้น โดยการรณรงค์พ่นยานั้นขอให้ดำเนินการพร้อมกันทั้งหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อให้การดำเนินการเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ควรมีการรณรงค์ทำความสะอาดปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำ
  2. ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ให้กับลูกสัตว์และสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโรคลัมปี สกิน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอัตราการตายสูงสุด และสัตว์ป่วยจะแสดงอาการรุนแรง
  3. ประสานขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำเกษตรกรในชุมชนในพื้นที่เพื่อร่วมดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและยากำจัดแมลงในฟาร์มโค กระบือ
  4. ประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกันโรคลัมปีสกิน โดยการใช้ หลอดไฟไล่แมลงและกางมุ้งเพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด การใช้ยาฆ่าแมลงแบบพ่นและแบบราดบนตัวสัตว์ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของสถานที่เลี้ยงสัตว์รวมทั้งให้ข้อมูลสถานการณ์โรคที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้เกษตรกรเข้มงวดเฝ้าระวังและสังเกตอาการสัตว์ของตนเอง หากพบอาการสงสัยตามนิยาม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที
  5. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการลงพื้นที่ในฟาร์มโคเนื้อ โคนม และกระบือ เพื่อค้นหาสัตว์ป่วย สร้างความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานในการควบคุมโรคตามมาตรการที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด ตามหลัก "รู้เร็ว คุมเร็ว สงบโรคได้เร็ว"

ท้ายนี้กรมปศุสัตว์ ขอเน้นย้ำว่าหากพบสัตว์แสดงอาการน่าสงสัยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารงานส่วนตำบลในพื้นที่ หรือโทรแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ที่เบอร์โทร 063-225-6888 หรือผ่านแอปพริเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที ทั้งนี้หากเกษตรกรให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคอย่างเคร่งครัด สัตว์ของท่านก็จะปลอดจากโรคดังกล่าว อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

ข้อมูล/ข่าว : กลุ่มควบคุม ป้องกันโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline