pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานข่าวออนไลน์ถึงผลการศึกษาในประเทศไทย พบคนติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจากแมว (COVID-19) เมื่อปีที่แล้ว โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ว่า มีพ่อลูกคู่หนึ่ง วัย 64 และ 32 ปี มีอาการป่วยและตรวจพบเชื้อ COVID-19 ส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ทั้ง 2 คนได้พาแมวที่เลี้ยงมาด้วย เมื่อมาถึงแมวถูกส่งไปยังโรงพยาบาลสัตว์เพื่อทำการตรวจ โดยสัตวแพทย์หญิงวัย 32 ปี ตรวจหาเชื้อด้วยการแยงจมูกและทวารหนัก ซึ่งพบผลเป็นบวกต่อเชื้อ COVID-19 โดยในขณะที่กำลังตรวจนั้น แมวได้จามใส่สัตวแพทย์ ที่มีการป้องกันโดยใส่ถุงมือ หน้ากากอนามัย แต่ไม่ได้ใส่เฟสชีลด์ ต่อมาในวันที่ 13 สิงหาคม 2565 หรือ 5 วันหลังจากนั้น สัตวแพทย์หญิงเริ่มมีอาการของการติดเชื้อ COVID-19 เช่น ไอและเป็นไข้ แต่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ จนกระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ได้ตรวจพบผลเชื้อไวรัสเป็นบวก ซึ่งเมื่อวิเคราะห์การศึกษาลำดับจีโนม ประกอบกับระยะเวลาการติดเชื้อที่ใกล้เคียงกัน พบว่า การติดเชื้อของทั้งสัตวแพทย์หญิง แมว และเจ้าของอีก 2 คน มีความเกี่ยวข้องกันในทางระบาดวิทยา และเชื้อที่พบนั้น ยังไม่มีการระบาดในพื้นที่ของสงขลา และเนื่องจากสัตวแพทย์หญิงไม่เคยพบกับเจ้าของแมวมาก่อน ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในครั้งนี้คือ สัตวแพทย์น่าจะติดเชื้อ COVID-19 มาจากที่แมวจามใส่หน้า การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นรายงานชี้มีการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนได้ แต่อย่างไรก็ดี พบว่าอัตราการเกิดของการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนเป็นความเสี่ยงที่พบได้น้อยมาก

เชื้อไวรัสโคโรน่านั้นมีหลายชนิด บางชนิดสามารถทำให้เกิดโรคคล้ายหวัดในคน และบางชนิดทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ในสัตว์ เช่น วัวควาย อูฐ และค้างคาว เชื้อไวรัสโคโรนาในสุนัขและแมว สามารถแพร่ระบาดในสัตว์เท่านั้นและไม่แพร่ระบาดในคน สัตว์ในสวนสัตว์หรือเขตรักษาพันธุ์ เช่น กอริลล่า มิงค์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ สามารถติดเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ โดยส่วนใหญ่ติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 นอกจากนี้ องค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) ได้มีการรายงานว่าสัตว์ป่า เช่น กวางหางขาวมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อไวรัสโคโรน่าจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติ่มและประเมินถึงผลกระทบอื่นที่อาจตามมาได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานแสดงถึงการแพร่กระจายที่แน่ชัด แต่การแพร่กระจายเชื้อจากมนุษย์เข้าไปสู่ประชากรกวางหางขาวนั้นเกิดขึ้นหลายครั้ง ดังนั้นจึงควรมีการสร้างความตระหนักให้กับนักล่าและผู้ที่อาศัยหรือทำงานกับสัตว์ป่า เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นกับสัตว์ป่าและหลีกเลี่ยงการทิ้งขยะหรือวัตถุของมนุษย์ไว้ในพื้นที่ป่าที่สัตว์ป่าสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยได้ร่วมมือกับ WOAH ในการรายงานเหตุการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในประเทศ โดยประเทศไทยได้ทำการรายงานการติดเชื้อว่ามีการติดเชื้อในสุนัขและแมว โดยจากการสอบสวนสาเหตุพบว่าทุกเคสที่รายงานนั้นสัตว์เลี้ยงติดเชื้อจากการที่เจ้าของติดเชื้อ COVID-19 ทั้งสิ้น นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ ประเทศไทยยังมีโครงการการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในสัตว์เลี้ยงที่มีอาการเสี่ยง เช่น มีการแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น หรือสัตว์เลี้ยงที่มาจากต่างประเทศพร้อมกับเจ้าของ โดยผลจากการตรวจเฝ้าระวังดังกล่าว ทำการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ในขณะนี้ ทุกตัวอย่างที่ให้ผลเป็นลบ ถึงแม้จะมีงานวิจัยรายงานว่าคนสามารถติดเชื้อจากแมวดังกล่าวได้นั้น แต่ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อได้ให้ข้อมูลว่า ความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนนั้นยังอยู่ในระดับต่ำมาก ดังนั้น จึงขอให้ทุกท่านอย่าตระหนก หมั่นดูแลสัตว์เลี้ยงของท่านด้วยความใกล้ชิด อย่าปล่อยหรือทิ้งสัตว์เลี้ยงของท่านเพราะความกลัวจากสถานการณ์หรือข่าวดังกล่าว และหากเจ้าของสัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยของ COVID-19 ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง

ท้ายนี้ กรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่านให้ดูแลสัตว์ของตนเองให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันสัตว์ของตนเองไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะนำเชื้อโรคเข้าสถานที่เลี้ยงสัตว์ พร้อมกับให้หมั่นสังเกตอาการของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ หากพบสัตว์แสดงอาการน่าสงสัยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือโทรแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ที่เบอร์โทร 063-225-6888 หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวในที่สุด

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline