pic01

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและได้มีการพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ตนเองได้ให้ความสำคัญและกำชับสั่งการไปยังกรมปศุสัตว์ให้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรค ASF อย่างเข้มงวดมาโดยตลอดตั้งแต่ต้น ให้รายงานผลการดำเนินการมาที่ตนอย่างสม่ำเสมอ สามารถควบคุมโรคได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันสามารถควบคุมโรค ASF ได้ในวงจำกัดแล้ว และเพื่อลดผลกระทบและความเสียหายเดือดร้อนกับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้หาแนวทางมาตรการเยียวยาช่วยเหลือแก่เกษตรกรด่วน โดยล่าสุดปี 2565 ให้กรมปศุสัตว์เตรียมเสนองบกลางแก่ ครม. เพื่อเร่งเยียวยาพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานลดความเสี่ยงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกร เป็นงบประมาณกว่า 700 ล้านบาท

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรค ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมความพร้อมรับมือต่อโรคมาโดยตลอด และภายหลังที่ประเทศไทยตรวจพบโรค ASF ครั้งแรกในวันที่ 11 มกราคม 2565 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัด จนปัจจุบันสถานการณ์ในภาพรวมของประเทศอยู่ในสถานะเฝ้าระวังซึ่งทำให้มาตรการการควบคุมโรคของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ และมีประเทศฟิลิปปินส์มาศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตนต่อไป สำหรับการเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรประเด็นเงินชดเชยนั้น กรมปศุสัตว์ได้รับการอนุมัติงบประมาณ งบกลางสำหรับค่าชดใช้ราคาสุกรที่มาตั้งแต่ปี 2563 -2564 รวม 4 ครั้ง มีเกษตรกรที่ได้รับการเยียวยาแล้ว 9,796 ราย จำนวนสุกรที่ถูกดำเนินการลดความเสี่ยง 272,220 ตัว คิดเป็นเงิน 1,044,310,351.48 บาท และในปีงบประมาณ 2565 กรมปศุสัตว์ได้ขออนุมัติงบประมาณในส่วนดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 753,045,572.02 บาท โดยแบ่งเป็นเงินค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกดำเนินการลดความเสี่ยง ในช่วงเดือน ตุลาคม 2564 ถึง มีนาคม 2565 สำหรับเกษตรกรจำนวน 2,655 ราย เป็นจำนวนสุกร 65,076 ตัว เป็นงบประมาณ 249,945,572.02 บาท และสำหรับแผนการดำเนินงานลดความเสี่ยงเพื่อการป้องกันโรค ASF และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า (ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2565) ในเกษตรกรจำนวน 3,000 ราย ประมาณการจะมีสุกรทั้งสิ้น 60,000 ตัว ต้องใช้งบประมาณอีกจำนวน 503,100,000 บาท ซึ่งงบนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินเยียวยาแก่เกษตรกรเนื่องจากมีงบประมาณสำหรับพร้อมจ่ายให้เกษตรกรทันที ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีแล้ว เนื่องจากวงเงินดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ขณะนี้จึงอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี โดยภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้ว กรมปศุสัตว์จะได้จ่ายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรตามที่แจ้งไว้โดยตรงต่อไปโดยเร็ว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างยั่งยืนนั้นได้กำหนดมาตรการระยะยาวคือ การผลักดันยกระดับมาตรฐานฟาร์มเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด (Good Farming Management: GFM) ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มมีระบบการป้องกันโรคและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP และจัดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. โครงการสานฝันสร้างอาชีพ และได้ทำงานเชิงรุกตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและพัฒนาวัคซีนโรค ASF ในสุกรโดยเร็วและมีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต ซึ่งวัคซีนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมโรคเท่านั้น แต่ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรค การป้องกันโรคโดยการเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์มเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้นภายในฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมั่นใจว่ากรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ท้ายสุดนี้ ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์โดยเคร่งครัด หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline