pic01

นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยข้อมูลว่า จากการอภิปรายนายกรัฐมนตรีในกรณีปัญหาเรื่องราคาหมูแพงจากการปกปิดข้อมูลสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) นั้น กรมปศุสัตว์ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง ย้ำชัดไม่เคยปกปิดข้อมูล โปร่งใสตรวจสอบได้ มีการเฝ้าระวังการเกิดโรค ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับมือโรคนี้มาโดยตลอดตั้งแต่มีการระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ ทั้งด้านแผนมาตรการป้องกันและควบคุม การเสนอเป็นวาระแห่งชาติ การควบคุมการเคลื่อนย้าย การสร้างเครือข่ายและให้ความรู้แก่เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเทศเพื่อนบ้านและองค์กรระหว่างประเทศ การเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ และการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เมื่อพบรายงานการเกิดโรคในประเทศไทยทำให้สามารถรับมือควบคุมสถานการณ์ในวงจำกัดได้ทันที จนได้รับการยอมรับมีระบบการควบคุมโรค ASF ดีที่สุดในอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์มาขอศึกษาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศ สำหรับกรณีราคาหมูแพงนั้นเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนด้านอาหารสัตว์ ค่าน้ำมันในการขนส่ง และค่าโลจิสติกส์ต่างๆ และสำหรับเนื้อหมูที่จำหน่ายในโครงการ อตก. มาจากโรงฆ่ามาตรฐานเพื่อการส่งออกและปศุสัตว์ ok มั่นใจไม่มี ASF แน่นอน

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรพบการระบาดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561 กรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยสั่งการปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่อย่างเข้มงวด พร้อมจัดตั้งการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) ในระดับจังหวัด ประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและองค์กรระหว่างประเทศ ทางด้านสุขภาพสัตว์และความมั่นคงด้านอาหาร เช่น องค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นต้น ได้ร่วมประชุมและกำหนดแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทย พร้อมทั้งมีการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในทุกพื้นที่ปสุสัตว์เขตทั่วประเทศ โดยเป็นการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในระดับพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร/รับทราบแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรค และได้ดำเนินการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical Practice Guideline) อีกทั้งได้มีการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทั้งทางอาการ และทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นผลลบต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทั้งหมด แต่ตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวกต่อโรคระบาดในสุกรชนิดอื่นๆ จนถึงช่วงเดือนมกราคม 2565 มีการพบสุกรป่วยตายผิดปกติมากขึ้น กรมปศุสัตว์ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้สั่งการให้จัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจสอบเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น จนวันที่ 10 มกราคม 2565 กรมปศุสัตว์ได้ประกาศการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการให้ผลบวกต่อเชื้อ ASF จำนวน 1 ตัวอย่างจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจากจังหวัดนครปฐม จึงได้สั่งการให้ชุดเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่เข้าสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาถึงแหล่งที่มาของสุกรและสาเหตุเพื่อควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งจากการดำเนินการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด ทำให้ปัจจุบันสามารถควบคุมโรคได้อยู่ในวงพื้นที่จำกัดแล้ว และเพื่อเป็นการทำงานเชิงรุกเนื่องจากโรคนี้ไม่มีวัคซีนในการป้องกันจึงได้ศึกษาถึงการผลิตวัคซีนป้องกันโรค ASF เพื่อนำมาเป็นต้นแบบนำมาขยายผลต่อไป

สำหรับเรื่องการจำหน่ายเนื้อหมูจากโครงการ “เกษตรช่วยประชาชนลดค่าครองชีพ” เมื่อวันที่ 12 - 19 กุมภาพันธ์ 2565 นั้นเป็นเนื้อหมูที่มาจากโรงงานมาตรฐานได้รับการรับรองเป็นโรงงานเพื่อการส่งออกและได้เข้าร่วมโครงการปศุสัตว์ OK กับกรมปศุสัตว์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตรวจโรคสัตว์ของกรมปศุสัตว์ไปกำกับดูแลการผลิตเนื้อสุกรตลอดการผลิต มีการควบคุมป้องกันโรค ASF อย่างเคร่งครัด โดยฟาร์มและโรงงาน มีการตรวจสุขภาพสุกร การสุ่มเก็บตัวอย่างก่อนการเคลื่อนย้ายสุกรเข้าโรงฆ่า เฉพาะสุกรสุขภาพดีเท่านั้นเข้าฆ่าเพื่อจำหน่าย และผ่านการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อ ASF ตามหลักวิชาการและไม่พบการปนเปื้อนเชื้อ ASF และการที่ผู้ประกอบการสามารถนำเนื้อสุกรจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 140 บาทนั้น เนื่องจากเป็นเนื้อสุกรที่ผลิตและเก็บไว้ใน stock ก่อนเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จึงมีราคาต้นทุนสุกรมีชีวิตต่ำกว่าท้องตลาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการลดความเสียหายและป้องกันโรคได้ดีที่สุดนั้นคือ การพัฒนานาปรับปรุงทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร จึงขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรควรมีความเข้มงวดในเรื่องระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์มสุกร และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรภายในฟาร์มสุกร เช่น การห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม การฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม การห้ามนำเศษอาหารมาเลี้ยงสุกร การฆ่าเชื้อในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้ที่ www.dld.go.th หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ application DLD 4.0 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline