S 14549067

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพด้านการผลิตปศุสัตว์ การย้ายฝากตัวอ่อนมาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน มุ่งเน้นการสร้างพ่อแม่พันธุ์แท้ชั้นเยี่ยมจากการย้ายฝากตัวอ่อน เพื่อเป็นการลดการนำเข้าพ่อแม่โคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศ โดยนำเข้าตัวอ่อนแช่แข็งพันธุ์แท้จากต่างประเทศ นำไปย้ายฝากตัวอ่อนในแม่ตัวรับของเกษตรกร ในส่วนของเกษตรกรสามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคเนื้อที่มีคุณภาพ และลูกโคเพศผู้เกษตรกรสามารถนำลูกไปผลิตน้ำเชื้อเมื่อได้ลูกโคเพศผู้และเพศเมียพันธุ์แท้ เกษตรกรจะต้องส่งคืนลูกโคพันธุ์แท้ให้กรมปศุสัตว์ ร้อยละ 50 ซึ่งกรมปศุสัตว์สามารถนำลูกโคเพศเมียพันธุ์แท้ไปผลิตตัวอ่อนโคพันธุ์แท้ต่อไป และลูกโคเพศผู้สามารถคัดเลือกเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผลิตน้ำเชื้อกระจายพันธุกรรมดี ผลิตน้ำเชื้อแข็งเพื่อการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งลดและยกเลิกการนำเข้าเนื้อโคและโคมีชีวิตและสามารถจะกระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อได้อย่างกว้างขวางในประเทศต่อไป

นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เผยว่า เป็นโครงการที่กรมปศุสัตว์ตั้งเป้าหมายในการกระจายโคเนื้อพันธุ์แท้ไปยังพี่น้องเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน โคเนื้อพันธุ์แท้ (พันธุ์แองกัส /บีฟมาสเตอร์/ วากิว/ บราห์มันแดง) นำไปย้ายฝากให้กับแม่โคของเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ รายละ 6 ตัว เมื่อมีลูกเกิดจากการย้ายฝากตัวอ่อนซึ่งเป็นโคเนื้อพันธุ์แท้ จะเป็นของเกษตรกร 50% ส่วนอีก 50% ต้องส่งคืนให้กรมปศุสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตตัวอ่อน และผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง ต่อยอดการขยายสัตว์พันธุ์ดีให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป

ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้รับงบประมาณจากการกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ปี 2563 โดยได้รับงบประมาณจาก โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ กว่า 75,621,800 ล้านบาท ดำเนินการจัดซื้อตัวอ่อนโคเนื้อพันธุ์แท้จากต่างประเทศจำนวน 4 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) ตัวอ่อนพันธุ์อเมริกันบราห์มันแดง 2) ตัวอ่อนพันธุ์บีฟมาสเตอร์ 3) ตัวอ่อนพันธุ์วากิว 4) ตัวอ่อนพันธุ์แองกัส จำนวนทั้งสิ้น 2,100 ตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ได้ดำเนินการฝากตัวอ่อนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2564 และได้ลูกโคที่เกิดจากการฝากตัวอ่อนตัวแรกของโครงการฯ จากฟาร์มเกษตรกร ดังนี้

ลูกโคเนื้อพันธุ์แท้ที่ได้จากการย้ายฝากตัวอ่อน 2 ตัวแรก ของโครงการฯ ที่ฟาร์มนายอวิรุทธ์ แสนหัวห้าว ที่บ้านหมู่11 บ้านนาตะแบง ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร โดยในฟาร์มมีแม่โคเนื้อมากกว่า 100 ตัว มีแม่โคเนื้อที่ผ่านคัดเลือก 10 ตัว เข้าร่วมในโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และสามารถคัดเลือกแม่ตัวรับที่พร้อมในการรับฝากตัวอ่อนมี 6 ตัว ดังนี้ 1.) เบอร์704 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 คลอด 3/9/65 เพศเมีย 2.)เบอร์805 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากพันธุ์แองกัส เมื่อวันที่ 9/12/64 กำหนดคลอด 9/9/65 3.) เบอร์1/36 พันธุ์ AN50 NA50ฝากแองกัส เมื่อวันที่9/12/64กลับสัด ไม่ทัอง 4.) เบอร์319 พันธุ์ CHA50 AB50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่ 9/12/64 กลับสัดไม่ท้อง 5.) เบอร์ A พันธุ์ CHA50 AB50ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่20/3/65 กลับสัด ไม่ท้อง 6.) เบอร์118 พันธุ์ วากิว 50 NA50 ฝากบีฟมาสเตอร์ เมื่อวันที่27/3/65 ไม่ท้อง กลับสัด

สรุปผลในดำเนินการย้ายฝากตัวอ่อนตามโครงการฯ ฝากตัวอ่อนแองกัส 3 ตัว ท้อง 2 ตัว ฝากตัวอ่อนบีฟมาสเตอร์ 3 ตัว ไม่ท้อง

ภาพ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline